พระธาตุโพนจิกเวียงงัว บ้านโคกป่าฝาง ตำบลปะโค อ.เมือง จ.หนองคาย

803

201711078d7a89c834ec6f09cb4558a08e97818a145126
“วัดพระธาตุบุ” อันเป็นสถานที่ตั้งของ “พระมหาธาตุโพนจิกเวียงงัว” ศูนย์รวมจิตใจชาวปะโคเมื่อครั้งพระพุทธกาล

พระพุทธเจ้าทรงนิมิตเห็นว่า อีกสามเดือนพระองค์จะปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์จะไม่แผ่ไปยังนานาประเทศด้วยเหตุดังนี้ พระองค์จึงได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า “เมื่อคถาคตปรินิพพานแล้ว ขอจงให้อัฐิธาตุแตกเรี่ยรายออกเป็น 3 สัณฐาน ให้มหาชนอัญเชิญไปนมัสการ ก่อสถูปบรรจุพระบรมไว้นานาประเทศที่อยู่แห่งตน แล้วเมืองนั้นจะมีผลร่มเย็นเป็นสุข ผู้พบเห็นจะบังเกิดความเลื่อมใส ผู้กราบไหว้บูชาจักเป็นประโยชน์แก่ตน เห็นทางไปสู่คติโลกสวรรค์ พระพุทธศาสนาจะแผ่ไพศาลรุ่งเรือง และจงมอบให้พระมหากัสสปะนำพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ตามเมืองที่คถาคตเคยหมายไว้ ซึ่งพระมหากัสสปะมีญาณหยั่งรู้เป็นพิเศษเอง”ด้วยความเชื่อนี้ ทำให้การก่อสร้างพระมหาเจดีย์หรือพระมหาธาตุ ถือเป็นบุญเขตอันยิ่งใหญ่ มีประโยชน์ต่อทั้งทวยเทพ มนุษย์ และอมนุษย์ ที่จะได้สักการะบูชา และธำรงไว้ซึ่งพระธรรมของศาสนาพระธาตุโพนจิกเวียงงัว เป็นพระธาตุก่ออิฐถือปูนฐานล่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมต่อด้วยฐานกลมซ้อนลด 5 ชั้น องค์พระธาตุเป็นรูปกรวยปลายสอบเข้าหากัน จากรูปทรงสถาปัตยกรรมสันนิษฐานได้ว่า พระธาตุนี้สร้างขึ้นราว พ.ศ.24-25 โดยช่างฝีมือพื้นบ้าน เป็นพระมหาธาตุที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเขี้ยวฝาง 3 องค์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านโคกป่าฝาง ตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ห่างจากตัวเมืองออกไปทางทิศตะวันตกตามถนนเส้นหนองคาย-ท่าบ่อ ประมาณ 12 กิโลเมตรตำนานอุรังคธาตุได้กล่าวไว้ว่า “ณ พระมหาธาตุแห่งนี้ สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ากับพระอานนท์เคยเสด็จจากกรุงสาวัตถีมาประทับที่เมืองโพนจิกเวียงงัว เพื่อหมายให้ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางเป็นเมืองพระพุทธศาสนาและประทับฉันภัตตาหารเช้าอยู่ที่นี้”เมื่อปี พ.ศ.8 พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนหัวอกนำมาประดิษฐานไว้ในอุโมงค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม กาลต่อมาพระมหากัสสปเถระได้มอบหมายให้พระอรหันต์ 3 องค์ คือ พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต และพระสังฆรักขิต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เมืองหนองคาย และได้ตั้งสำนักพระอรหันต์สอนวิปัสสนากรรมฐานที่โพนป่าจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุแห่งนี้ต่อมาศิษย์ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ 5 องค์ ซึ่งมีฉายาว่า พระมหาสุวรรณปราสาท พระจุลสุวรรณปราสาท พระมหารัตนะ พระจุลรัตนะ และพระมหาสังขวิชัย รวมพระอาจารย์อรหันต์อีก 3 องค์ ได้เดินทางไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอพระบรมสารีริกธาตุจากพระมหากัสสปเถระแล้วอัญเชิญกลับมาเมื่อ พ.ศ.19 ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในสถานที่ต่างๆ เช่น
1. พระธาตุหัวเหน่า จำนวน 29 องค์ ประดิษฐานที่พระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
2. พระธาตุพระบาทขวา จำนวน 9 องค์ ประดิษฐานที่พระธาตุกลางน้ำเมืองหนองคาย (ปัจจุบันพระธาตุนี้จมอยู่กลางลำน้ำโขง และมีการสร้างพระธาตุจำลองขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2549)
3. พระธาตุเขี้ยวฝาง จำนวน 3 องค์ ประดิษฐานที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัว
4. พระธาตุเขี้ยวฝาง จำนวน 4 องค์ ประดิษฐานที่พระธาตุหอผ้าหอแพร บ้านสีฐาน ประเทศลาว (ตรงข้ามบ้านปะโค ปัจจุบันพระธาตุนี้ได้พังทลายไปแล้ว)ปี พ.ศ.2059-2091 พระเจ้าโพธิสาร กษัตริย์แห่งอานาจักรล้านช้าง พระราชบิดาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสร้างพระมหาธาตุครอบพระอุโมงค์โพนจิกเวียงงัว โดยใช้แรงงานในการก่อสร้าง 50,000 แรงงาน แล้วตั้งชื่อตามเมืองว่า “พระธาตุโพนจิกเวียงงัว”คัมภีร์พระบรมสารีริกธาตุ กล่าวไว้ว่า พระบรมสารีริกธาตุเป็นพระสรีระธาตุแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปูชนียวัตถุอันวิเศษสุด มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว สามารถบันดาลจิตใจทั้งมนุษย์และอมนุษย์ให้บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ ที่ใดแล้วมักแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ปรากฏเป็นอัศจรรย์ต่างๆ โดยทั่วไปจะเห็นเป็นฉัพพรรณรังสี คือ มีพระรัศมีเป็นแสงสว่างพวยพุ่งขึ้นเป็นสี 6 ประการ และพระบรมสารีริกธาตุยังมีอำนาจค้ำชูพระพุทธศาสนา ให้คงอยู่ควบคู่กับชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลายมาโดยตลอดปี พ.ศ.2525 กรมศิลปากรได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ พระมหาธาตุโพนจิกเวียงงัว เป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ เนื่องจากองค์พระมหาธาตุทรุดโทรมลงตามกาลเวลาสำหรับองค์พระธาตุบุนั้น เป็นพระธาตุปิดรูพญานาค ซึ่งพญานาคได้ “บุ” (ภาษาอีสานแปลว่า โผล่พ้นด้นดั้นขื้นมา) พื้นดินเป็นรูขึ้นมา (จากหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม กล่าวว่า ท่านเคยเห็นพญานาคมาทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์กับท่าน พญานาคเป็นอมนุษย์ มีอิทธิฤทธิ์มาก แสดงปาฏิหาริย์จำแลงร่างให้เป็นร่างต่างๆ ได้เช่น เป็นมานพ ชีปะขาว เสือ ช้าง ฯลฯ) พญานาคมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ชอบทำบุญและฟังธรรม เมื่อพญานาคจากเมืองบังพวนทราบว่า เมืองโพนจิกเวียงงัวมีพระบรมสารีริกธาตุและมีพระอรหันต์ประจำอยู่ จึงบุพื้นขึ้นมากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุทำบุญและฟังธรรม บางครั้งพญานาคก็เผลอต่อการจำแลงกายทำให้ชาวบ้านเห็นเข้าก็เกิดความกลัว จึงได้ช่วยกันก่อพระธาตุปิดรูพญานาคพระธาตุบุได้สร้างขึ้นก่อนที่จะสร้างพระมหาธาตุโพนจิกเวียงงัว 8 ปี ซึ่งมีทั้งเทพ เทวาอารักษ์ และพญายมทั้งหลายมาเคารพบูชา นอกจากพระมหาธาตุโพนจิกเวียงงัวและพระธาตุบุแล้ว ในวัดยังมีพระธาตุหัวงัว คอกม้าคอกงัวอุสุภราช ปราสาทมหาเทพให้กราบนมัสการ ซึ่งพุทธศาสนิกชนทั้งหลายสามารถเดินทางมากราบนมัสการได้ทุกวัน
คำบูชาว่า
อะหัง วันทามิ อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ปูชนัตถายะ ปะระมะสารีริกกะฑาฒธาตุง มัยหัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุเขี้ยวฝาง เพื่อต้องการสักการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนาน เทอญ