วัดพระแท่นบ้านแดง

1042

วัดพระแท่นบ้านแดง ที่ได้ชื่อวัด “พระแท่น” ก็เพราะอาศัยแท่นพระเก่า

แต่ไม่มีพระพุทธรูปอยู่หลวงปู่จึงตั้งชื่อว่าวัดพระแท่น”วัดพระแท่น” ให้สมกับนามเดิมของแท่นพระเก่า พอหลวงปู่มาสร้างวัดแล้ว ชาวบ้านไทก็ได้อพยพย้ายบ้านเรือนทั้ง ๓๐ หลังคาเรือนมาอยู่ บริเวณรอบๆวัดและตั้งชื่อว่า “คุ้มใต้วัด” และ “คุ้มหัววัด”ชาวบ้านที่อยู่ต่างจังหวัดได้ยินชื่อของหลวงปู่จึงพากันอพยพมาอยู่มากยิ่งขึ้น ทางทิศเหนือของวัดติดกับบ้านไทเดิมมีหนองน้ำแห่งหนึ่ง เรียกว่า “กุดบ้าน” แต่ก่อนหนองน้ำแห่งนี้เคยมีข้าศึก และ คู่อริกันได้มาต่อสู้กันด้วยหอกดาบ พอเลิกต่อสู้กันแล้วต่างคนต่างลงอาบน้ำล้างเลือดทำให้หนองน้ำนี้เป็นสีแดงเต็มไปด้วยเลือดหลวงปู่ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า..บ้านแดง” และที่มาของชื่อหมูบ้านอีกอย่างหนึ่งคือตอนที่หลวงปู่มาตั้งวัดครั้งแรกที่บริเวณแห่งนี้เต็มไปด้วยดอกไม้สีแดงและต้นไม้แดงขนาดใหญ่อยู่ในวัด จึงได้อาศัยตำนานหนองน้ำแดง ดอกไม้แดงและป่าไม้แดง เป็นที่มาที่หลวงปู่ตั้งชื่อบ้านแห่งนี้ว่า “บ้านแดงใหญ่” ความเป็นอยู่ของชาวบ้านแดงในสมัยนั้นอยู่กันอย่างมีความสุข และก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ปู ปลา ไม่อดอยาก ไร่นาจับจองเอาที่ไหนก็ได้
ต่อมาคนต่างหมู่บ้านและต่างจังหวัดก็หลั่งไหลกันเข้ามาอาศัยบารมีของหลวงปู่มากันทุกวัน หลวงปู่จึงมีนโยบายแนวทางพัฒนาแผนใหม่ จึงได้วางผังหมู่บ้านและสถานที่ที่จะตั้งเมืองในอนาคตข้างหน้า จึงเริ่มตัดถนนหนทาง ถนนสายใหญ่ๆ ทั้งหมดก็มี ๘ สาย นอกจากนี้ได้ตัดถนนตรอกซอยจำนวนมาก เมื่อคนเข้าไปอยู่เต็มในแต่ละแปลงก็ตั้งคุ้มๆ หลวงปู่บอกว่าไม่ให้มีการซื้อขายที่ดินให้แบ่งปันกันอยู่ ในแต่ละคุ้มจะมีศาลาหนึ่งหลัง และมีหัวหน้าประจำคุมนั้น ๆ ที่ตรงไหนเป็นทุ่งไร่ทุ่งนาอยู่แล้ว หลวงปู่ก็จะซื้อเอาไว้ แต่ราคาต้องไม่เกิน ๖๐ บาท และหลวงปู่ได้หมายขอบเขตของหมู่บ้านเอาไว้ โดยใช้ไม้แดงขนาดใหญ่ฝังไว้เป็นจุด ๆ โดยรอบอาณาเขตที่บอกว่าจะเป็นเมือง หลวงปู่ปักหลักไว้ว่าตรงไหนจะเป็นของ หน่วยงานใด เช่น ตรงนี้เป็นของโรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม ที่ว่าการอำเภอ ไฟฟ้า อนามัย โรง พยาบาล เป็นตน เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง ข้อนี้บอกได้เลยว่าหลวงปู่มองการณ์ไกล อย่างแน่นอน เมื่อผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นหลวงปู่จึงนำชาวบ้านสร้างศาลา และกุฏิทางด้านทิศ ตะวันออกของวัด ในการสร้างนั้นตอนกลางคืนก็ให้พวกหนุ่มๆสาวๆที่มีกำลังแข็งแรงดีไปช่วยกัน ลากไม้โดยใช้รถขิ่งล้อ(รถที่มีล้อสำหรับลากไม้ ทำขึ้นมาจากไม้)พอไปตัดไม้ได้ก็เอาขึ้นรถเที่ยวละ ๓-๔ ท่อน ขนาดของไม้แต่ละท่อนยาวประมาณ ๘-๑๐ เมตร ในการลากก็เอาริ้วหนังผูกกับรถ แล้วช่วยกันลาก เสียงของรถไม้เสียดสีกันในตอนลากนั้นดังสนันหวั่นไหวไปทั้งป่าแถบนั้น และตอนที่ริ้วหนังที่ใช้ลากขาด หนุ่มสาวที่ช่วยกันลากไม้ล้มทับกันระเนระนาด ทำให้หนุ่มสาวได้รับความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยได้ไม่น้อยทีเดียว ทำอย่างนั้นเรื่อยมาทุกวันทุกคืน หากคืนไหนไม่ได้ไปลากไม้ชาวบ้านก็พากันออกไปตัดถนนตามถนนสายต่าง ๆ และบางพวกก็ช่วยกันเลื่อยไม้ที่ขนมาแล้ว จากการที่ชาวบ้านจากที่ อื่น ๆ ย้ายมาอยู่กันมากขึ้น หลวงปู่จึงตั้งธนาคาร ข้าวเปลือก และธนาคารโคกระมือเพื่อเจกจ่ายให้กับคนยากคนจน และมีผู้หญิงบางกลุ่มมาขอบวชชี (นุงขาวห่มขาว) รับอาสาทำอาหารเลี้ยงคนงาน ผู้ที่มาบวชชีจึงมีเป็นรายๆ