อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ วีรบุรุษชาติแห่งอุดรธานี

2001

สยามประเทศตกเป็นเป้าหมายของเหล่าประเทศมหาอำนาจผู้ล่าอาณานิคม หากไม่มีพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และราชการผู้จงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัวและประเทศชาติ สยามประเทศคงไม่อาจธำรงความเป็นชาติโดยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นได้ถึงปัจจุบัน หนึ่งในบุคคลที่ช่วยประเทศชาติให้รอดพ้นเงื้อมือมหาอำนาจมาได้มีบุรุษนามว่า กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นผู้ก่อตั้งจังหวัดอุดรธานีที่ชาวเมืองอุดรรักยิ่งชีวิตกระทั่งรวมกันก่อสร้างอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์เป็นอนุสรณ์ที่ผู้คนต่างมาสักการะ
4กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมหรือพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ประสูติเมื่อ ปีพุทธศักราช 2399 ในปี พ.ศ. 2428 ท่านทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ แหม่มแอนนา เลียวโนเว็น จนเชี่ยวชาญเขียน และตรัสภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม ทรงศึกษาวิชาการด้านกฎหมาย และยังทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ (เรียกว่า มณฑลอุดร ในสมัยต่อมา) และทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ (เรียกว่า มณฑลอุดร ในสมัยต่อมา) ณ ขณะนั้นพวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแมน้ำโขง และมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระยศในขณะนั้น) เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือ ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อที่ยกกำลังเข้าปล้นสะดมราษฎรไทยตามแนวชายแดนไทย-ลาว จนประสบความสำเร็จ และสร้าง อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ณ เมืองหนองคาย เมื่อปี พ.ศ.2429 เพื่อบรรจุอัฐิทหารไทยที่เสียชีวิตเพื่อชาติในครั้งนั้น ซึ่งนั่นเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสฉวยโอกาสเข้ายึดแคว้นสิบสองจุไทย โดยอ้างว่าจะนำกำลังเข้าปราบจีนฮ่อ ทำให้เกิดกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสใช้กำลังที่เหนือกว่าบังคับให้ไทยต้องลงนามสนธิสัญญายอมรับสิทธิของฝรั่งเศสเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และให้ไทยถอยกองกำลังทหารให้ห่างชายแดนแม่น้ำโขง 25 กิโลเมตร กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมจึงย้ายกองบัญชาการไปตั้งที่บ้านเดื่อหมากแข้งและสถาปนาเมืองอุดรธานีเป็นที่ตั้งทัพ ต่อมาเป็น จังหวัดอุดรธานี ท่านทรงจัดวางระเบียบราชการปกครองบ้านเมืองและรับราชการในหน้าที่สำคัญ ๆ ที่อำนวยประโยชน์แก่ราษฎรหัวเมืองชายแดนอีสานอยู่ 7 ปี จึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์พระองค์ท่านนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวจังหวัดอุดร

ปัจจุบันอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคมได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานอย่างสง่างามจากบริเวณทุ่งศรีเมืองมาตั้งอยู่บริเวณวงเวียน “ห้าแยกน้อย” ่กลางเมืองอุดรธานี ซึ่งได้ถูกขนานนามใหม่ว่า “วงเวียนห้าแยกกรมหลวงฯ” พระอนุสาวรีย์รูปปั้นทองบรอนซ์ในพระอิริยาบถทรงประทับยืนอยู่บนแท่นหินแกรนิตสีเทาดำ ที่มีความสูงเฉพาะพระแท่นประทับประมาณ 3.50 เมตร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเต็มพระยศ พระหัตถ์ขวาทรงถือพระแสงกระบี่
อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคมไม่เพียงเป็นอนุสรณ์ที่เป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวจังหวัดอุดรธานีแต่ยังเป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานี ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองที่สำคัญแห่งหนึ่ง ชาวอุดรธานีที่จะเดินทางไปต่างบ้าน ต่างเมือง หรือกลับมาถึงเมืองอุดรธานี รวมถึงประชาชนที่เดินทางผ่านไปมา จะยกมือไหว้เพื่อสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เหล่านักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าสอบเพื่อศึกษาต่อมักมากราบไหว้บนบานท่านเพื่อเป็นกำลังใจในความสำเร็จ สิ่งของที่นิยมนำมาถวายแก้บนมักจะเป็นม้าและดาบ รวมทั้งการวิ่งแก้บนรอบพระอนุสาวรีย์ฯ ของพระองค์ท่าน ก็เป็นกิจกรรมที่คุ้นตาของผู้สัญจรไปมา โดยในวันที่ 18 มกราคมของทุกปีจะมีการจัดงานบวงสรวงกรมหลสงประจักษ์ศิลปาคมที่อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคมแห่งนี้อีกด้วย