ไหว้ 9 พระธาตุเจดีย์มหามงคล ร่ำรวยรับปีใหม่ไทย

6924

การไหว้พระ ขอพร ถือเป็นเริ่มต้นที่ดีของต้นปีที่ดีนะคะ วันนี้มีพระธาตุทั้ง 9 ของจังหวัดหนองคายมาแนะนำให้ไปกราบไหว้เพื่อความเป็นศิริมงคล ทั้งโชคลาภ หน้าที่การงานและความร่ำรวยมาฝากกันค่ะ

1 พระธาตุพระอรหันต์ วัดโพธิ์ชัย
ในตำนานอุรังคธาตุนิทาน หรือตำนานพระธาตุพนมได้ระบุว่าพระธาตุอรหันต์สร้างขึ้นในยุคของการบูรณะพระธาตุพนม ครั้งที่ ๒ สมัยพระยาสุมิตตวงศา กษัตริย์ผู้ปกครองมรุกขนคร ได้ร่วมกับพระอรหันต์ ๕ องค์
ตามประวัติกล่าวไว้ว่า สมัยที่พระมหากัสสปเถระ เมื่อได้เดินทางมาเพื่อก่อสร้างพระธาตุพนมและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (อุรังคธาตุ) ที่ภูกำพร้าเสร็จแล้ว ได้เดินทางกลับสู่เมืองราชคฤห์ เมื่อไปถึงเมืองราชคฤห์แล้ว ได้สั่งสอนสามเณร ๓ รูป ภายหลังเมื่ออุปสมบทและสำเร็จพระอรหันต์ คือ พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต และพระสังฆรักขิต จากนั้นทานได้สั่งลูกศิษย์ว่าเมื่อสิ้นบุญท่านแล้วให้เดินทางมาที่เมืองสุวรรณภูมิ (เวียงจันทน์ – หนองคาย) เพื่อที่จะได้สอนกรรมฐานแก่กุมารทั้ง ๕ ซึ่งเป็นผู้มีบุญที่จะได้ทำหน้าที่ในการชักชวนผู้คนมาบูรณะพระธาตุพนมตามที่ได้ปรารถนาเอาไว้ตั้งแต่อดีตชาติ เมื่อสิ้นบุญพระมหากัสสปเถรแล้วพระอรหันต์ทั้ง ๓ รูป จึงได้เดินทางมาที่เมืองสุวรรณภูมิ (เวียงจันทน์ – หนองคาย) โดยพักอยู่ที่ หนองกก ใกล้กับภูเขาหลวง (พระธาตุบังพวน) จากนั้นได้เดินทางไปรับพระกุมารที่กับชาติมาเกิดที่เมืองต่างๆ มาบรรพชาเป็นสามเณร และให้พักอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์และเมือหล้าหนองคายดังนี้
๑. พระพุทธรักขิตเถรไปเมืองอินทปัตถนคร (ประเทศกัมบูชา) เพื่อรับมหารัตนกุมารและจุลรัตนกุมารมาบรรพชาเป็นสามเณรและให้พักปฏิบัติธรรมอยู่ที่ริมเมืองฟากฝั่งโขงทางตะวันออก (ฝั่งเวียงจันทน์)
๒. พระธรรมรักขิตเถระไปเมืองจุลนีพรหมทัต (เมืองเว้ – ประเทศเวียดนาม) เพื่อรับพระมหาปราสาทกุมารและพระจุลปราสาทกุมารมาบรรพชาเป็นสามเณรและให้พักปฏิบัติธรรมอยู่ที่เวียงวัวใต้ (เวียงคุก)
๓. พระสังฆรักขิตเถระ ไปเมืองหล้าหนองคายเพื่อรับพระสังขวิชชกุมารมาบรรพชาเป็นสามเณรและให้พักปฏิบัติธรรมอยู่ที่เมืองหล้าหนองคาย (ปัจจุบันคือวัดโพธิ์ชัย) โดยมีหมื่นกางโฮงผู้นำชุมชนเมืองหล้าหนองคายเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์
เมื่อบรรลุพระอรหันต์และอุปสมบทแล้วพระอาจารย์ทั้ง ๓ ได้พาลูกศิษย์ทั้งหมดเดินทางไปเมืองราชคฤห์ เมื่อเดินทางไปถึงเมืองราชคฤห์แล้ว พระอาจารย์ทั้ง ๓ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุคือ (๑) พระบรมธาตุหัวเหน่า จำนวน ๒๙ พระองค์ (๒) พระธาตุเขี้ยวฝาง จำนวน ๗ พระองค์ และ (๓) พระธาตุฝ่าพระบาท จำนวน ๙ พระองค์ เดินทางกลับมาสุวรรณภูมิพร้อมลูกศิษย์โดยพักที่เมืองคอนราชเสียก่อน จากนั้นพระอาจารย์ทั้ง ๓ รูป จึงได้สั่งลูกศิษย์ทั้ง ๕ รูปว่า ให้นำพระธาตุหัวเหน่าไปประดิษฐานไว้ที่ภูเขาหลวง (พระธาตุบังพวน) พระธาตุฝ่าพระบาทขวาให้นำไปประดิษฐานไว้ที่เมืองหล้าหนองคาย (พระธาตุหล้าหนอง) ส่วนพระธาตุเขี้ยวฝางให้นำไปประดิษฐานไว้ ณ ที่ต่างๆ ดังนี้ คือ ให้นำไปประดิษฐานที่โพนจิกเวียงวัว(พระธาตุบุ) จำนวน ๓ องค์ และนำไปประดิษฐานที่หอแพ (ฝั่งเวียงจันทน์) จำนวน ๔ องค์ ครั้งสั่งเสียแล้วพระอาจารย์ทั้ง ๓ ก็เดินทางกลับสู่เมืองราชคฤห์
จากนั้นพระอรหันต์ทั้ง ๕ ได้เดินทางกลับมาที่เมืองสุวรรณภูมิแล้ว ได้ดำเนินการนำพระบรมสารีริกธาตุไปฐาปนาไว้ตามสถานที่ซึ่งพระอรหันต์ผู้เป็นอาจารย์ได้สั่งไว้ เมื่อดำเนินการเผยแผ่และฐาปนาพระพุทธศาสนาในเขตเมืองสุวรรณภูมิเสร็จแล้ว ก็ได้เดินทางไปที่ภูกำพร้าเพื่อร่วมกับพระยาสุมิตตวงศาทำการบูรณะพระธาตุพนมตามที่ได้ทำการตั้งความปรารถนาไว้ในครั้งอดีต และเมื่อบูรณะพระธาตุพระพนมเสร็จแล้ว ต่างก็เดินทางกลับไปยังบ้านเมืองของตนเพื่อเทศนาสั่งสอนประชาชนในถิ่นนั้นๆ ตามสมควร จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์และเมืองหล้าหนองคายดั่งเดิม ต่อมาเมื่อท่านได้นิพพานแล้วประชาชนก็ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระธาตุของท่านรวมกันไว้ ณ วัดโพธิ์ชัยแห่งนี้เพราะเหตุที่เป็นเจดีย์บรรจุพระธาตุอรหันต์ดังนั้นชาวเมืองหล้าหนองคายจึงเรียกกันว่า”พระธาตุอรหันต์”สืบมาจนถึงปัจจุบัน

2 พระธาตุหล้าหนอง(พระธาตุกลางน้ำ)
พระธาตุหนองคาย หรือ พระธาตุกลางน้ำ เดิมชื่อพระธาตุหล้าหนอง เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค 7 พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 17.2 เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ 28.5 เมตร หักออกเป็น 3 ท่อน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 20–22 เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวน

ในหนังสืออุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงการสร้างพระธาตุหล้าหนองว่า พระธาตุองค์นี้ สร้างโดยพระอรหันต์ 5 องค์ ประกอบด้วย พระมหารัตนเถระ, พระจุลรัตนเถระ, พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ, พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ และพระสังฆวิชัยเถระ ที่ล้วนเป็นศิษย์พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต พระสังฆรักขิต พระอรหันต์ทั้ง 3 องค์

พระอรหันต์ทั้ง 5 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า จากประเทศอินเดียมาพร้อมกันและได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้พร้อมกัน 6 แห่ง คือ

พระธาตุหอผ้าหอแพ บ้านทรายฟอง เมืองหาดทรายฟอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พระธาตุหัวเหน่า 29 องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พระอุรังคธาตุ หรือพระธาตุหน้าอก บรรจุไว้ที่พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
พระธาตุบังคล หรือกระเพาะอาหาร บรรจุไว้ที่พระธาตุบังพวน วัดพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย
พระธาตุเขี้ยวฝาง 7 องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัว อำเภอเมืองหนองคาย
พระธาตุฝ่าพระบาทเบื้องขวา 9 องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุเมืองลา หรือ พระธาตุหล้าหนอง อำเภอเมืองหนองคาย โดยพระธาตุหล้าหนองนี้ตั้งอยู่กลางบริเวณวัดธาตุ หรือวัดสิริมหากัจจายน์ ชุมชนวัดธาตุ เทศบาลเมืองหนองคาย

3 พระธาตุวัดหลวง พระธาตุหลวงพ่อพระสุก วัดหลวงพิสัยเจติยาราม อำเภอโพนพิสัย อนิสงส์จากการไหว้ “มีเกียรติยศชื่อเสียง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ”

4 พระธาตุมณีโคตร อำเภอโพนพิสัย อนิสงส์จากการไหว้ “ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจหน้าที่การงาน”

5 พระธาตุโพนจิกเวียงงัว  อนิสงส์จากการไหว้พระธาตุโพนจิกเวียงงัว “มีเกียรติยศชื่อเสียง เพิ่มบุญบารมี”

6 พระธาตุวัดเทพพลประดิษฐาราม หรือพระธาตุนกยูงทองคำ ที่ตำบลเวียงคุกเช่นกัน อยากให้ไปสัมผัสบรรยากาศภายในวัดนี้ สวยและเงียบสงบ อนิสงส์จากการไหว้ “มีคนรักคนเมตตา ลาภผลมากมี”

7 พระธาตุวัดสาวสุวรรณาราม หรือพระธาตุหลวงพ่อดำ ที่ตำบลเวียงคุก อนิสงส์จากการไหว้ “เพิ่มทรัพย์ เพิ่มลาภ ปราศจากภัยพิบัติพาล”

8 พระธาตุดำ

ในสมัยหนึ่งนั้น ได้มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่ได้ถูกสร้างขึ้นในอาณาเขตบริเวณที่ดินใกล้เคียงกันมีอยู่ ๒ องค์ คือเจดีย์ขาว (เงิน) และเจดีย์คำ(ดำ) และวัดพระธาตุทั้งสององค์นี้ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นผู้ปกครองนครวียงจันทน์เขตอาณาจักรล้านช้างในสมัยนั้น ปัจจุบันนี้คือประเทศสาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังจากที่ขึ้นปกครองนครเวียงจันทน์ พร้อมกับการปก ป้องและปราบปรามข้าศึกศรัตรูและกบฏ จนเป็นที่สงบและอยู่ดีกินดีร่มเย็นเป็นสุขของปวงประชาชนทั่วราชทุกเขตแดนแล้วพระองค์ก็ได้ทรงดำริที่จะทำนุบำรุงพระพุทธ ศาสนาให้ฝั่งรกรากอยู่ผืนแผ่นดินของตน จึงได้ทรงพระราชทูตไปกราบอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ที่ทรงรักษาพระศาสนาจากทางกรุงศรีอยุธยาของประเทศไทย เพื่อให้ท่านได้นำพระธรรมคำสอนทางพระ พุทธศาสนามาเผยแพร่ที่เมืองหลวงพระบางตลอดถึงนครเวียงจันทน์ และยังได้อัญเชิญเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์ จากประเทศศรีลังกาและพม่า นำมาประดิษฐานบรรจุไว้ตามพระธาตุเจดีย์วัดต่าง ๆให้เป็นสักการะเคารพกราบไหว้ของชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐานี้ พระพุทธ ศาสนาในประเทศลาวมีความเจริญรุ่งเรืองกว้างขวางมาก ๆทั้งในตัวเมืองหลวงและตามหัวเมืองต่าง ๆ เต็มไปด้วยวัดวาอารามและพระธาตุเจดีย์ที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ที่ได้จัดประดับตกแต่งไว้วิจิตรพิสดารสวยงามมากๆนอกจากการเสริมสร้างสถานที่ราชการและวัดวาอารามต่างๆแล้วพระองค์ยังมีพระราชศรัทธาได้สร้างหรือทรงโปรดให้ช่างผู้ชำนาญหล่อด้วยโลหะหรือปั้นพระพุทธรูปปรางค์ต่างๆ ที่สำคัญขึ้นอีกเป็นจำนวนมากหลายองค์ เช่นพระเจ้าองค์ตื้อ,พระสุก,พระเสริม,และพระใส เป็นต้น ในสมัยนั้นตามนานกล่าวไว้ว่า ในเขตปกครองทั่วประเทศ มีวัดที่ทรงร่วมและเป็นประธานนำก่อสร้างไว้จำนวนถึง ๑๒๐ วัดหนึ่งในจำนวนที่กล่าวไว้นั้น ก็มีวัดพระธาตุดำแห่งนี้รวมอยู่ด้วย แต่เดิมเรียก ชื่อว่าพระธาตุคำ เพราะในองค์เจดียาตุนั้น นอกจากจะได้บรรจุพระอรหันตธาตุแล้ว ยังได้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ ล้วนได้ทำขึ้นจากโลหะทองคำ,ทองเหลืองบ้างหรือทองผสมบ้างตามที่ผู้มีศรัทธาได้ร่วมบริจาคสมทบถวายมา เช่นต้นโพธิ์ทอง ผอบทองคำที่ใช้ใส่บรรจุพระอรหันตธาตุและอื่น ๆ อีกมากมาย ฯ ครั้นต่อมาเมื่อหลายปีพร้อมความเก่าแก่และมีซากวัชพืชปกคุมหรือตะไคร่จับเต็มไปหมดสีอาจจะเปลี่ยนไปนานเข้าก็เลยมองดูเป็นสีดำ เมื่อมองดูเป็นสีดำ ชาวบ้านก็เลยเรียกตามที่เห็นว่า พระธาตุดำ จนเป็นที่รู้จักกันมา ถึงทุกวันนี้ นับว่าพระองค์เป็นผู้มีพระปรีชาสามารถ และทรงมีสายพระเนตรอันกว้างไกลที่ได้ทรงสร้างมหากุศลและพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติและพระศาสนา ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้พบเห็นเป็นประจักษ์ตราบเท่าจน ถึงปัจจุบันนี้ จนมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมโทรมผุพังไปตามอายุและกาลเวลา

9 พระธาตุบังพวน  ตามตำนานอุรังคธาตุ ว่าได้บรรจุพระบรมสาริกธาตุ ไว้ในอุโมงค์บนภูลวง และมีการทำเจดีย์ครอบอุโมงเอาไว้ในปี 2000 อนิสงส์จากการไหว้ “ประสบความสำเร็จทางหน้าที่การงาน และขอให้มีบุตร”