ระลึก หลวงปู่ทองพูล เถระแห่งกองทัพธรรม

1872

ท่าน อาจารย์ทองพูล สิรกาโม เป็นพระกรรมฐานรุ่นแรก แห่งกองทัพธรรมสายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ โดยพระเถระรุ่นนี้ มีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่คำตัน พระครูอุดมศีลวัฒน์ วัดป่าสถิตย์ธรรมมาราม พระครูปัญญาวรากร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม โดยเฉพาะท่านอาจารย์ทองพูลกับท่านอาจารย์จวน ทั้ง 2 องค์ มีความสนิทสนมกันมาก

ท่านอาจารย์ทองพูล เดิมชื่อหนูพูล นามสกุล เอนไชย เกิดที่บ้านเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อนายเคน มารดาชื่อนางสุภี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7คน

72156ตั้งแต่วัยเด็กท่านอาจารย์ทองพูลมีลักษณะนิสัยสุขุมเยือกเย็น พูดน้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ญาติพี่น้อง มีจิตเมตตา ท่านอาจารย์ได้บรรพชาอุปสมบทครั้งแรก เป็นพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกายที่วัดท่าเดื่อ โดยมี
พระอุปัชฌาย์สิงห์ (ปัจจุบันคือ พระครูนรสีสาสน์ธำรง รองเจ้าคณะอำเภอวานรนิวาส)

การบวช ครั้งนั้นเป็นการบวชในงานบุญประเพณีของผู้ที่ท่านอาจารย์คุ้นเคย และต่อมาท่านอาจารย์ทองพูลได้พบกับพระอาจารย์สีโห เขมโก ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์หลวงปู่มั่น และเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับหลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ฝั้น โดยท่านอาจารย์ทองพูลได้เปลี่ยนนิกายใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต โดยมี่พระอาจารย์เจดีย์(จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์สวัสดฺ เป็นพระกรรมวาจาจาร มีฉายาว่า สิริกาโม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2495

นับ ตั้งแต่การอุปสมบท ท่านอาจาย์ทองพูล ได้ตั้งจิตแน่วแน่ในการปฏบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และถึงขั้นที่เรียกได้ว่ามอบกายถวายชีวิต โดยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวกเพื่อเร่งความเพียร บำเพ็ญภาวนา เพียงพรรษาแรกท่านอาจารย์ได้ถือเนสัชชิธุดงค์ คือการไม่นอน ไม่ยอมให้หลังแตะกับพื้นตลอดพรรษาและอดอาหารควบคู่กันไป ท่านอาจารย์ทองพูลยังป่วยอาพาธเป็นไข้มาเลเรียนอย่างหนัก แต่ท่านอาศัยธรรมโอสถขันติธรรมเพ่งเวทนาที่เกิดขึ้นจนไข้มาเลเรียหายไปเองparagraphparagraph_paragraphparagraph_175

สำหรับ วัดสามัคคีอุปถัมภ์แห่งนี้ ท่านอาจารย์ทองพูลได้เดินทางมาในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๒ ครั้งแรกยังเป็นแค่ภูดิน อยุ่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอบึงกาฬ โดยชาวบ้านเรียกภูดินแห่งนี้ว่า ภูกระแต เนื่องจากมีสัตว์พวกกระรอก กระแต รวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ อาศัยอยู่ชุกชุมตามสภาพที่เป็นป่าดงทึบ รกครึ้ม

เมื่อ ท่านอาจารย์มาถึงบริเวณภูกระแต ในคืนแรกท่านจำวัดใต้ต้นบก และ 3-4 วันต่อมา ชาวบ้านได้ทำเพิงพักนั่งร้าน และกุฎิชั่วคราวแบบง่ายๆ ทำด้วยไม้ไผ่ป่า จากนั้นท่านอาจารย์จึงได้พัฒนาวัดเรือยมาจวบจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแรงศรัทธาสามัคคีร่วมใจจากคณะลูกศิษย์ลูกหาทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา

367377บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม เป็นพระกรรมฐานรุ่นแรก แห่งกองทัพธรรม สายอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ อีกทั้งยังเป็นพระนักเทศน์สอนประชาชนด้วยคำง่ายๆ แต่ได้เนื้อหาธรรมะอันลึกซึ้ง ด้วยจริยวัตรที่เรียบง่าย และเป็นกันเอง ท่านจึงเป็นที่เคารพศรัทธาของลูกศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ
ด้วยความที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก จึงมีผู้นำเงินมาบริจาคให้ท่านมากเช่นกัน ซึ่งเงินที่ท่านได้มาก็จะนำไปสร้างสาธารณประโยชน์มากมายทั่วทั้งจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ อาทิ วัด โรงพยาบาล โรงเรียน และมอบทุนการศึกษาให้ลูกหลานชาวบึงกาฬอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “กองทุนการศึกษาสิริกาโม”
กองทุนการศึกษาสิริกาโม ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ สืบเนื่องจากวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันกตัญญู และเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบึงกาฬ หรือ สปอ.บึงกาฬ (ปัจจุบัน คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ) ได้รับอนุญาตจาก หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม ให้ความเมมตาสร้างวัตถุมงคล “รุ่นเมตตาบารมี กองทุนการศึกษาสิริกาโม” เพื่อจัดหาทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา และสนับสนุนการจัดการศึกษา และช่วยเหลือบุคลากรในสังกัด ซึ่งมีทุนประเดิมจากการเช่าบูชาเหรียญหลวงปู่ทองพูล สิริกาโม เป็นเงินจำนวน ๖๔๐,๔๑๔ บาท และได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ขณะนี้มีเงินทุนทั้งสิ้น ๑,๔๙๑,๒๔๔.๗๕ บาท

“..ขอให้ข้าพเจ้า จงพ้นเสียจากความทุกข์โดยเร็วไว ในชีวิตนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขออย่าได้มีอุปสรรคมาขัดขวางทางดำเนินมรรคผลของข้าพเจ้าเลย..”

หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม ได้ละสังขารที่กุฏิ ภายในวัดภูกระแต ด้วยอาการอาพาธจากภาวะปอดอักเสบ เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๘ จากนั้นก็ได้เข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลบึงกาฬ และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น โดยครั้งสุดท้ายเข้าไปรักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลบึงกาฬ ด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อาการหลวงปู่ทองพูลเริ่มไม่ดีขึ้น ท่านจึงได้ปฏิเสธการรักษา และขอกลับมาพักที่วัดภูกระแต คณะลูกศิษย์จึงได้ประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรับหลวงปู่กลับวัดในวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ต่อมาอาการอาพาธได้เริ่มหนักขึ้น จนเมื่อเวลา ๑๘.๕๙ น. ของวันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ท่านได้ละสังขารจากโลกนี้ไปอย่างสงบ สิริอายุ ๘๓ ปี ๑ เดือน ๑๙ วัน ๖๓ พรรษา