กาฬสินธุ์ ซื้อวัวบริษัทเอกชนจัดส่งได้วัวผิดสเปค

239

จากการติดตามบรรยากาศการดำเนินชีวิตของประชาชน ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปี ซึ่งที่นอกจากจะประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ยังได้รับความเดือดร้อนจากการถูกนายทุนพ่อค้าขายวัว บริษัทเอกชนจัดส่งวัวไม่ได้สเป็กมาให้

โดยล่าสุดที่บ้านธนบุรี ต.โพนงาม อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรยั่งยืนบ้านธนบุรีจำนวน 10 คน นำโดยนายวิเชฐ เขตประกร อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ 12 บ้านธนบุรี ต.โพนงาม ประธานกลุ่มเกษตรยั่งยืนบ้านธนบุรี ได้รวมตัวกันปรับทุกข์ และเรียกร้องให้นายทุนคืนเงินจำนวน 500,000 บาท เป็นเงินค่าซื้อวัว 10 ตัว และค่าอาหารวัว หลังมีการจัดส่งมาแต่ไม่ตรงตามสัญญา ทั้งน้ำหนักและสายพันธุ์ โดยชาวบ้านระบุว่าได้เข้าร้องทุกข์กับปรึกษากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จ.กาฬสินธุ์ และศูนย์ดำรงธรรม จ.กาฬสินธุ์แล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้า

นายวิเชฐ เขตประกร ประธานกลุ่มเกษตรยั่งยืนบ้านธนบุรี กล่าวว่า ตนและชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จ.กาฬสินธุ์ ได้รวมกลุ่มกันในนามกลุ่มเกษตรยั่งยืนบ้านธนบุรี 10 คน ทำโครงการขอกู้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จ.กาฬสินธุ์จำนวน 500,000 บาท เมื่อปี 2563 และได้รับการอนุมัติต้นปี 2564 เพื่อนำมาซื้อวัวลูกผสมพันธุ์ดีมาเลี้ยงสร้างงาน สร้างอาชีพ โดยการจัดซื้อได้รับคำแนะนำจากผู้ประสานงานคนหนึ่ง ซึ่งมีความเชื่อใจกัน ก่อนที่จะมีการติดต่อกับแหล่งจำหน่ายวัว ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และทำสัญญาซื้อขายระหว่างกลุ่มเรากับนายทุนบริษัท ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 โดยในสัญญาซื้อขาย 500,00 บาท ระบุว่าการวัวต้องเป็นสายพันธุ์ผสมบราห์มัน จำนวน 10 ตัว แต่ละตัวต้องมีน้ำหนัก 300 กิโลกรัม ราคาตัวละ 36,000 บาท รวมเป็นเงิน 360,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 140,000 บาท แบ่งเป็นค่าอาหารเสริม ค่าหญ้าหมัก และค่าดำเนินการอื่นๆ ทั้งนี้กำหนดมอบวัววันที่ 10 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมามา

นายวิเชฐ กล่าวต่อว่า หลังจากกองทุนฯ ได้อนุมัติเงินกู้ 500,000 บาท เข้าบัญชีของกลุ่มฯ จึงทยอยโอนเงินจำนวนดังกล่าวให้กับนายทุนขายวัว และอาหารเสริมเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 จากนั้นวันที่ 24 กันยายน 2564 ได้เดินทางไปดูตัววัว เพื่อทำการคัดเลือกวัวที่จะนำมาเลี้ยง ที่ฟาร์มแห่งหนึ่งใน อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม หลังจากนั้นจึงได้กลับมาที่บ้าน ด้วยความดีใจที่ จะได้มีวัวงามเลี้ยง และจะได้มีกำไรเมื่อถึงอายุจำหน่าย

นายวิเชฐ กล่าวอีกว่า แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์พลิกผัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ขณะที่ตนไปธุระต่างอำเภอ ทุนมีคนเป็นตัวแทนนายทุนได้จัดส่งวัวมาให้กับกลุ่มจำนวน 10 ตัว ซึ่งทางสมาชิกกลุ่มได้ตรวจสอบสภาพวัวแต่ละตัวที่ส่งให้นั้นไม่เป็นไปตามสเป็กที่กลุ่มต้องการ และไม่ตรงตามสัญญา อีกทั้งไม่ใช่วัวตัวที่ไปคัดเลือกและจองไว้ โดยวัวที่ส่งมาบางตัวไม่ใช่พันธุ์ผสมบราห์มัน เป็นวัวพื้นบ้าน บางตัวรูปร่างผอมแห้ง อายุไม่เป็นไปตามสัญญา และส่วนใหญ่น้ำหนักไม่ถึง 300 กิโลกรัม อีกทั้งบางตัวมีตุ่มขึ้นตามผิวหนังคล้ายกับเป็นโรคลัมปีสกิน ซึ่งทางสมาชิกกลุ่มได้โทรศัพท์แจ้งให้ตนทราบ จึงได้รีบเดินทางมาดู พร้อมตกลงกันในกลุ่มว่าจะไม่ลงชื่อยอมรับวัวที่ส่งมา เพราะมองว่าเป็นวัวขี้โรค จากนั้นได้แจ้งให้นายทุนมารับวัวจำนวนดังกล่าวกลับไป และบอกว่าจะนำวัวมาเปลี่ยน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการส่งวัวมาให้ใหม่ และหากไม่ส่งวัวมา ทางกลุ่มอยากขอเงินคืนเพื่อที่จะเอาไปซื้อเอง” นายวิเชฐกล่าว

ด้านนางสำเนียง ขันวิสิทธิ์ อายุ 61 ปี อยู่บ้านเลขที่ 277 บ้านธนบุรี หมู่ 5 ต.โพนงาม สมาชิกกลุ่มเกษตรยั่งยืนบ้านธนบุรี กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดดังกล่าว การที่นำวัวที่ไม่ตรงสเป็กมาส่งให้ ไม่ต่างกับส่งวัวขี้โรคมาให้ จึงได้ประสานกับทางนายทุน ซึ่งเป็นตัวแทนมาทำสัญญาซื้อขายกับกลุ่ม เพื่อขอให้โอนเงินมาคืนกับกลุ่ม และเพื่อที่สมาชิกกลุ่มเราจะไปจัดหาซื้อวัวจากแหล่งอื่นที่มีคุณภาพมาเลี้ยงเอง แต่ทางตัวแทนนายทุนก็บ่ายเบี่ยง และผลัดวันประกันพรุ่งเรื่อยมา สุดท้ายไม่สามารติดต่อไป จึงได้เตรียมเอกสารไปปรึกษาข้อกฎหมายกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จ.กาฬสินธุ์ และศูนย์ดำรงธรรม จ.กาฬสินธุ์ เมื่อประมาณกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีความคืบหน้า

ขณะที่นายรัชต มูลทรัพย์ (ชื่อ อ่านว่า รัด-ชะ-ตะ) หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ทางกองทุนฯได้อนุมัติสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย วงเงิน 500,000 บาท ให้กับกลุ่มเกษตรยั่งยืนบ้านธนบุรี ต.โพนงาม อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เพื่อจัดซื้อวัวมาเลี้ยงจริง โดยโอนผ่านทางธนาคาร ในส่วนของการดำเนินการต่างๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง ทางกลุ่มจะเป็นฝ่ายดำเนินการเอง ซึ่งระเบียบว่าไว้อย่างนั้น

นายรัชตกล่าวอีกว่า หลังจากทราบปัญหาความเดือดร้อนของสมาชิกกองทุนฯกลุ่มเกษตรยั่งยืนบ้านธนบุรี ที่ปฏิเสธการรับวัวที่ฝ่ายคู่สัญญาจัดส่งให้ พร้อมเรียกร้องให้ทางฝ่ายคู่สัญญาจ่ายเงินคืนนั้น ทางกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จ.กาฬสินธุ์ กำลังดำเนินการพิจารณาแนวทางช่วยเหลือ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 60 วัน

from monitoring the atmosphere of the people’s lifestyle During the rice harvesting period which in addition to the problem of falling rice prices and live with caution From the epidemic situation of the COVID-19 infectious disease, it has also suffered from being traded by capitalists who sell cows. Private companies deliver cows that don’t have the specs.

Recently, at Ban Thon Buri, Phon Ngam Subdistrict, Kamalasai District, Kalasin Province, 10 villagers are members of the Ban Thon Buri Sustainable Agriculture Group, led by Mr. Wichet Khet Prakon, 53 years old, residing at 71 Village No. 12, Ban Thon Buri. Phon Ngam Sub-district, Chairman of Ban Thonburi Sustainable Agriculture Group have come together to suffer and demanded that the capitalists return the amount of 500,000 baht, which was the money for the purchase of 10 cows and the cost of cattle feed After being delivered but not in accordance with the contract both weight and breed The villagers said they had filed a complaint with the Farmers Rehabilitation and Development Fund, the Kalasin branch and the Damrongtham Center. Kalasin Province but still no progress

Mr. Wichet Khetprakon, chairman of the Ban Thonburi Sustainable Agriculture Group, said that he and the villagers who are members of the Kalasin Provincial Farmers Rehabilitation and Development Fund have gathered together under the name of the Ban Thonburi Sustainable Agriculture Group, 10 people to do a project to borrow money from the fund. Rehabilitation and development of farmers in the Kalasin branch in the amount of 500,000 baht in 2020 and was approved in the beginning of 2021 to buy well-bred cows to raise them to create jobs and create a career by purchasing advice from a coordinator. which have mutual trust Prior to contacting the cattle dealer which is a private company and make a purchase agreement between our group and the company’s capitalist From May 25, 2020, in the 500,00 baht contract, stating that the cattle must be a mixed breed of Brahman, amounting to 10, each must weigh 300 kilograms, priced at 36,000 baht each, totaling 360,000 baht, the rest. 140,000 baht, divided into supplementary food, silage and other processing costs The cows are scheduled to be delivered on October 10, 2021 in the past.

Mr. Wichet continued that after the Fund Has approved a loan of 500,000 baht into the group’s account. Therefore, gradually transfer the said amount to the capitalist who sells cattle. and supplementary food on September 22, 2021. Then, on September 24, 2021, he traveled to see the cows. to select cows to be fed At a farm in Yang Si Surat District, Maha Sarakham Province, after that, he returned to his home. with pleasure will have a beautiful cow to feed and will have a profit when reaching the shelf life

Mr. Wichet also said that but then there was a turning point on October 1, 2021, while he was on business in different districts. The fund was represented by a financier who sent a group of 10 cows, which the group members reviewed for the condition that each cow they sent did not meet the group’s requirements. and not in accordance with the contract It was also not a cow that was selected and reserved. Some of the cattle delivered were not Brahman crossbreeds. a native cow Some were emaciated. Age is not according to the contract And most of them weigh less than 300 kilograms, and some have blisters on the skin similar to luminosity. which the group members have called to inform them Therefore, hastened to come to see and agreed in the group that they would not sign the cows sent because it is seen as a diseased cow Then informed the capitalists to take the said number of cows back. and said that the cows will be replaced So far, no new cows have been delivered. and if not send the cow The group would like to ask for a refund so that they can buy it themselves,” said Mr. Wichet.

Mrs. Samnieng Khanwisit, 61 years old, residing at 277 Ban Thon Buri, Village No. 5, Phon Ngam Subdistrict, member of the Ban Thonburi Sustainable Agriculture Group, said that the incident Bringing a cow that doesn’t match the spec to deliver It’s like sending a sick cow. therefore coordinated with the capitalists which is an agent to enter into a contract with the group to request that the money be transferred back to the group And in order for our group members to procure cows from other sources with quality to raise their own. But the agent of the capitalist deflected. and procrastination Finally unable to continue Therefore, the documents were prepared to consult the law with the Farmers Rehabilitation and Development Fund, Kalasin Province Branch and Damrongtham Center, Kalasin Province, about mid-October last year. but still no progress

While Mr. Ratta Moonsub (name read as Rat-cha-ta), head of the Farmers Rehabilitation and Development Fund, Kalasin Branch, said that the fund has approved interest-free loans in the amount of 500,000 baht to the Ban Thonburi Sustainable Agriculture Group, Phon Sub-district. Ngam, Kamalasai District, Kalasin Province to buy cows to raise for real by bank transfer In terms of operations such as procurement The group will be the one who operates by itself. which is regulated

Mr. Ratt said that After knowing the problems of the members of the Ban Thonburi Sustainable Agriculture Group Fund who refused to accept the cows delivered by the parties ready to demand that the parties pay back the contract The Farmer’s Rehabilitation and Development Fund, Kalasin Province Branch is considering a way to help. It is expected to take approximately 60 days.