ตำนาน ๙ พญานาคราช ผู้ปกครองพิภพบาดาล

1399

พญานาคราช หรือพญานาค เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่างๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน
คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่ ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจากพญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม
1.พญาอนันตนาคราช
พาหนะคู่บารมีของพระนารายณ์ คำว่าอนันตะมีความหมายว่า อนันต์ ไร้จุดจบ มีความยาวมากถึงขนาดว่าสามารถพันรอบโลกได้แต่เดิมพญานาคราชมีพระนามเดิม ว่าพญาเศษะ นาคราช ทรงเป็นโอรสองค์แรกของพระกัศยปะ และ นางกัทรุ พญาอนันตนาคราชเป็นใหญ่ในเมืองบาดาลเป็นราชาแห่งนาคทั้งปวงในเกษียรสมุทรและ ได้ตามเสด็จพระนารยณ์เสมอ

นาคเป็นงูใหญ่ บนหัวมีหงอน ที่คางมีเครา ลำตัวมีเกล็ดและปลายหางมีลวดลายงดงาม มีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงตัวได้ และสามารถบันดาลให้เกิดฝนได้ด้วย เรียกว่า นาคให้น้ำ นาคในวรรณคดีไทย นอกจากจะมี ๑ หัวแล้ว ยังปรากฏนาคที่มี ๗ หัว เรียกว่า นาคเจ็ดเศียร พญาอนันตนาคราช มี ๑,๐๐๐ เศียร อนันตนาคราชขดตัวอยู่กลางเกษียรสมุทร เป็นแท่นบรรทมให้พระนารายณ์ หลังจากที่พระนารายณ์ปราบผู้ที่มารบกวนเทวดาและมนุษย์ได้แล้ว อนันตนาคราชสามารถพ่นพิษเป็นไฟบัลลัยกัลป์ล้างโลกได้เมื่อถึงเวลาสิ้นอายุ ของโลก เมื่อพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระรามเพื่อปราบทศกัณฐ์ อนันตนาคราชก็มาเกิดเป็นพระลักษมณ์ช่วยพระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์ด้วย

เสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิยังร่มไม้จิก อันมีนามว่า”มุจลินท์”อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก ๗ วันมุจลินท์นาคราชในกาลนั้นฝนตกพรำตลอด ๗ วัน พญานาคมีนามว่า”มุจลินท์นาคราช”มีอานุภาพมาก อยู่ที่สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์พฤกษ์นั้น มีความเลื่อมใสในพระศิริวิลาศ พร้อมด้วยพระรัศมีโอภาสอันงามล่วงล้ำเทพยดาทั้งหลาย จึงเข้าไปใกล้แล้วขดเข้าซึ่งขนดกาย แวดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ๗ รอบ และแผ่พังพานอันใหญ่ ป้องปกเบื้องบนพระเศียร มิให้ลมและฝนถูกต้องพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า

2.พญามุจรินทร์นาคราช
ครั้งล่วง ๗ วัน ฝนหายขาดแล้ว พญานาคก็คลายขนดจำแลงกายเป็นมานพ เข้าไปถวายอัญชลีเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาว่า”ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ คือความถือตัวออกให้หมดไปเป็นสุขอย่างยิ่ง”

ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว เสด็จออกจากร่มไม้มุจลินท์ ไปยังร่มไม้เกตุ อันมีนามว่า”ราชายตนะ”อันอยู่ในทิศทักษิณ แห่งต้นมหาโพธิ์ เสวยวิมุติสุข ณ ที่นั้น สิ้น ๗ วัน เป็นอวสาน ในกาลนั้น ท้าวสักกะอมรินทราธิราช ทรงดำริว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้เสวยพระกระยาหารนับแต่กาลตรัสรู้มาได้ ๔๙ วันแล้ว จึงได้เสด็จลงมาจากเทวโลก น้อมผลสมออันเป็นทิพยโอสถเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผลสมอเสวย แล้วทรงสรีระกิจลงพระบังคม ทรงสำราญพระกายแล้ว เสด็จเข้าประทับยังร่มไม้ราชายตนะพฤกษ์นั้น.

ท้าวมหากาลนาคราช3.พญาภุชงค์นาคราช
พญาภุชงค์นาคราชเจ้าวิสุทธิเทวา เป็นพญานาคราชประจำองค์พระศิวะเทพ หรือ พระอิศวรเจ้า อยู่ในตระกลู วิรูปักษ์ มีพระวรกายเป็นสีเทาฮินดู พระนาภี และ พระเศียรเป็นสีแดง มีพระเศียร ตั้งแต่ ๑ ,๓ ,๕ ,๗ ,๙ แล้วแต่ปางค์ แต่ส่วนใหญ่ที่ปรากฎให้เห็น คือ ๑ เศียร และ ๗ เศียร มีพระอัครมเหสี คือ พญานาคิณีเทวีศรีปางตาล ( แม่ย่าทองคำ ) ซึ่งเป็นพญานาคิณีประจำองค์แม่พระอุมาเทวี มเหสีของพระศิวะเทพ

ประวัติปู่ภุชงค์นาคราช

พญาภุชงค์นาคราชเจ้าวิสุทธิเทวาเป็นพญานาคราชประจำองค์พระศิวะเทพ หรือพระอิศวรเจ้าอยู่ในตระกลู วิรูปักษ์ มีพระวรกายเป็นสีเทาฮินดู พระนาภีและพระเศียรเป็นสีแดง มีพระเศียร ตั้งแต่ ๑ ,๓ ,๕ ,๗ ,๙ แล้วแต่ปางค์แต่ส่วนใหญ่ที่ปรากฎให้เห็นคือ๑เศียรและ๗เศียรมีพระอครมเหษีคือ พญานาคิณีเทวีศรีปางตาล ( แม่ย่าทองคำ )

ซึ่งเป็นพญานาคิณีประจำองค์แม่พระอุมาเทวี มเหสีของพระศิวะเทพ

พญาภุชงค์นาคราชมีอุปนิสัยตรงไปตรงมา ดูภายนอกมองว่าท่านดุแต่แท้จริงแล้วท่านใจดีมาก รูปร่างสง่างาม อายุเปรียบกับคนอายุราว ๕๐ กว่าๆ ท่านชอบศึกษาธรรมเป็นนิสัยหลังจากสละจากกษัตริย์แล้วท่านได้บำเพ็ญตบะเป็นฤๅษีและได้บำเพ็ญมาถึงทุกวันนี้ ส่วนท่านอาศัยอยู่น่านน้ำอ่าวไทยตลอดถึงอันดามันคือน่านน้ำเข็มและได้อยู่ตามถ้ำต่างๆทั้วประเทศจึงได้พบเห็นว่าท่านอยู่แถบทุกภาค ของประเทศ ในขณะเดียวกันท่านได้เป็นฤๅษีในชั้นพรหมมีวิมานอยู่ที่พรหมโลก ปู่ภุชงค์นาคราชมีหลายพระญาณบารมีเสมือนมีหลายปางค์แต่ละภาคปางค์ก็ต่างกันภาคปางค์ที่เป็นกษัตริย์ท่านมีนิสัยเจ้าชู้มักมากในกามรมณ์ ส่วนที่บำเพ็ญตบะเป็นฤๅษีท่านมีความเมตตาชอบสอนธรรมะและโปรดที่จะช่วยเหลือมวลมนุษย์

4.พญาศีรสุทโธนาคราช
นาคาศรีสุทโธ และ นาคีศรีปทุมมา เป็นพญานาคราชผู้เป็นใหญ่ในประเทศไทย เป็นพญานาคราชขององค์อินทราธิราชเจ้า “มีพรหมประกายโลก” หรือวังนาคินทร์คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นเวียงวังที่ประทับ องค์นาคาธิบดีศรีสุทโธ มีวรกายสีเขียวมรกต เศียรสีทอง มีเมตตาสูงต่อผู้กราบไหว้บูชา หากอธิษฐานจิตขอในสิ่งที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นจะสัมฤทธิ์ผล จึงมีผู้คนไปกราบไหว้ บนบานศาลกล่าวกันเป็นจำนวนมากประชาชนที่เคารพศรัทธามักจะเรียกท่านว่า “จ้าวปู่ศรีสุทโธ” และ “จ้าวย่าศรีปทุมมา” องค์นาคาธิบดีศรีสุทโธเป็นมหาเทพนาคาผู้ยิ่งใหญ่ แผลงเศียรได้ 9 เศียร ส่วนองค์นางพญาศรีปทุมมานาคิณีผู้เป็นชายาแผลงเศียรได้ 5 เศียร ทั้งสององค์โปรดปรานการฟังธรรมจากพระอริยสงฆ์มาก และเนรมิตวรกายเป็นเศียรเดียว หรือเป็นมนุษย์ก็ได้ ดั่งคำโบราณอีสานกล่าวว่า “นามนาคนั้นข้างขึ้นเป็นคน…ข้างแรมเป็นนาค” ทั้งองค์ศรีสุทโธและองค์ศรีปทุมมาอยู่ในตระกูลเอราปถะ วรกายของทั้งสององค์มีสีเขียวมรกตและสีเขียวตองอ่อน

5.พญาศรีสัตตนาคราช
พญาศรีสัตตนาคราชเป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์ ทรงศักดาอานุภาพ นามของพญาศรีสัตตฯ นี้ก็ปรากฏพบในตำนานอุรังคธาตุเช่นกันความดังนี้ว่า…..
พระศาสดา ก็เสด็จไปสู้ดอยนันทกังรี ซึ่งเป็นที่อยู่ของนางนันทยักษ์แต่ก่อน มีนาคตัวหนึ่ง ๗ หัว ชื่อว่าศรีสัตตนาค เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้ ณ ที่นั้น ทรงก้าวพระบาทข้ามตีนดอยก้ำขวาแล้วทรงแย้มพระโอฐ เจ้าอานนท์กราบทูลถาม ตถาคตตรัสว่า เราเห็นนาค ๗ หัวเป็นนิมิต ต่อไปภายหน้าที่นี้จักบังเกิดเป็นเมือง มีชื่อว่าเมืองศรีสัตตนาค

6.พญาเพชรภัทรนาคราช หรือ พญาเกล็ดแก้วนาคราช
พญาเพชรภัทรนาคราช พญาเพชรภัทรนาคราช โอรสบุตร เพียง พระองค์เดียว ต่อองค์พญาอนันตนาคราช และ พระนางอุษาอนันตวดีแต่ ทรง มี พระ ขนิษฐา และ อนุชา ต่างพระมารดามากทรงเป็น โอปาติกะจุติพระวรกาย สีดั้งเดิม คือ ทอง ตามพระมารดาท่าน พระมารดาท่านเป็นราชธิดาแห่งองค์ท้าววิรูปักษ์และพระนางนพเกตุนาคินีเทวี ตระกูลวิรูปักษ์ เกล็ดเพชรนี้ท่านได้จาก บารมีปฏิบัติแผ่พระเศียรแสดงบารมีได้ 9 เศียร ทรงเชี่ยวชาญช่ำชองในการรบมาก เมื่อครั้งสงครามเทวะคราต่างๆ พญาเพชรภัทรจะทรงเป็น 1 ในแม่ทัพใหญ่นำรบเสมอ ทรงได้รับประธานพระขรรถ์วิเศษจากฤษีเทพอัศดร และ มีครูบาอาจารย์เทพพรหมฤษี ประสิทธิวิชา มากมาย

7.พญานาคดำแสนสิริจันทรานาคราช
นาคราช ทรงเป็นพระราชโอรสพญาศรีสัตตะนาคราช กษัตริย์ฝั่งโขง 1 ในนาคาธิบดีทั้ง 9 กับ พระนางมธุรินรดีเทวีราชธิดา พญาอนันต์นาคราช ท่านพญาเพชรภัทรนาคราชทรงเรียกพระองค์ว่า เจ้าชายเล็ก พระวรกายสีดำอมส้มองค์นี้มีหอกทองคำปลายเป็นเพชร เป็นอาวุธสิริโฉมมาก หวงน้องสาว แต่เจ้าสำราญชายามาก ทรงเก่งทั้งบู้และบุ๊น คล่องแคล่วปราดเปรื่องและว่องไวดุจสายฟ้า ทั้งยังมีคุณธรรมและคุณงามความดีพระชายาวิชุราอารฎีเทวี ทรงเป็น1 ใน พระราชธิดาแห่งพญาอนันตนาคราช ผู้เป็นพระชายาคู่บารมี

8.พญายัสมันนาคราช
พญายัสมันนาคราช หรือ พระนามเต็ม พญายัสมันรายะนาคราช เป็น พระราชโอรสในพญาอนันตนาคราช และ เจ้านางสรัอยแสงคีรี ตระกูลวิรูปักษ์ ทรงเป็นพระอนุชา สหายร่วมรบกับพญาเพชรภัทรนาคราช พญาภาคินทร์นาคราช และ พญานฤบดินทร์นาคราช พญายัสมันนาคราช เจ้านั้น เก่งวิชาทางรบ มนต์นาวี มีเทพเจ้าแห่งสมุทรประสิทธิวิชาใหั ถ้าว่าด้วยเรื่องรบโดยพลังแห่งน้ำแล้ว ท่านถือเป็นเอกในด้านนี้ พญายัสมันนาคราช ทรงมีความดีความชอบ ต่อสู้กับเพชรพญาธรอัคคี ซึ่งไปลักลอบขโมยตำราจากหอมนตรา ของปู่ฤษีสีหโคดม และก่อกองกำลังคนธรรพ์ ยึดครองเมืองพญานาคใหญ่นัอยถึง 4 เมือง เป็นบัญชาในท้าวสักกะเทวราช ให้พญายัสมันนาคราชยกทัพไปจัดการ

เมื่อชนะศึกในครานั้น และ อีกหลายความดีความชอบ จึงได้ทรงยกย่องท่านนั้นเป็น 1 ใน 9 องค์นาคาธิบดี ทรงเป็นกษัตริย์นาคินทร์ปกครองดินแดนแทบมาเลยเซีย สิงคโปร สีพระวรกาย เขียวอมน้ำเงินปลัองพระนาภีสีทอง ปลายหางสีแสด สีพระเนตรสีแดงแสดพญายัสมันนาคราชที่ไม่มีพระชายานั้น ก็ด้วยท่านมิทรงสมหวังกับพระนางผู้เป็นที่รัก คือ พระนางมุญารินทร์รณีเทวี ราชธิดาใน พญาภุชงค์นาคราช และ พระนางทองคำศรีปางตาล เนื่องจากเจ้าปู่ภุชงค์ทรงหวงราชธิดาองค์เล็กมาก เมื่อมิอาจครองรักกัน และ มิอาจจะขัดพระประสงค์ของเจ้าปู่ภุชงค์จึงทรงจำศีล เก็บพระองค์เป็นนาคเทวราช คู่พระทัยองค์อัมรินทร์

9.พญาครรตระศรีเทวานาคราช
ประวัติและลักษณะไม่ทราบชัดเท่าไหร่นัก แต่ที่ทราบคือ ทรงมีพระชายาคู่บารมีพระนางศิริมายานาคินีเทวี ราชธิดาพญาวาสุกรีนาคราช นั่นเอง

 

คาถาอัญเชิญพญานาค (ตั้งนะโม 3 จบ)

นะมามิ ลิละ สาเข ปัตถะ ละปะ ธัมเม สะคะลับตี สะเยตานาคะ ลาเชนะยะ ปิสะโตฯ

พระคาถาถวายการสักการะบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

เอหิสังคัง ปิโยนาคะ สุปันนานัง มะยัง

หรือ

กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา (ชื่อพระนามอย่างเช่น องค์ วาสุกรีนาคราช,อนันตนาคราช,ภุชงค์นาคราช,นาคาธิบดีศรีสุทโธ,) วิสุทธิเทวาปูเชมิ ถ้าเป็นองค์นางพญานาคี ก็เปลี่ยนเป็น นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ (เช่น กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา วาสุกรีนาคราช วิสุทธิเทวาปูเชมิ) เป็นต้น

คาถาบูชาพญานาคราชอีกบทหนึ่ง (ตั้งนะโม 3 จบ)

นาคเทวะ ปรี ตา ภวันติหะ คานติมาปโนติ เวน วิภี สัมศานติ โลก มา สาทยะ โมทเต ศาศติช สมาช

หรือกล่าวย่อ คือ (คัด สะ มะ อุ มะ) 9 จบ

คาถาบูชาพญานาค (คาถานี้ได้มาจากเสด็จปู่ยมโลก) ตั้ง นะโม 3 จบ

นะติตัง พญามะ นาคายะ อภินัง นาคา สาธุโนภันเต ยะมะ ยะมะ