ราชภัฏโคราชเปิดโลกดึกดำบรรพ์ฟอสซิลเฟสติวัล

396

ที่โรงแรมแคนทารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รอง ผวจ.นครราชสีมา พร้อมนายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มร.นม.) นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐินี ทองดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมแถลงการจัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 : 100 ปี แห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6 Fossil Festival VI : 100 Years of Petrified Wood and Elephant Conservation from the Reign of King Rama VI กำหนดขึ้นวันที่ 4-10 ธันวาคม นี้ ที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยมีกิจกรรมเสวนาวิชาการบรรพชีวิน “100 ปี อนุรักษ์วิจัยฟอสซิลไทยในโคราช” “ฟอสซิลแห่งสยามกับการอนุรักษ์” “โคราชมหานครแห่งบรรพชีวินโลก” ชมนิทรรศการ “โคราช มหานครแห่งบรรพชีวินโลก” “ไม้กลายเป็นหินแปลก” การนำเสนอผลงานวิชาการ “ร่วมเรียนรู้สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์กับนักวิจัย” “พิพิธภัณฑ์ฟอสซิลเพื่อการนันทนาการและการเรียนรู้” การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ รวมทั้งกิจกรรมผ่านระบบ Hybrids “ทัวร์เที่ยวทิพย์ท่องเที่ยวมหานครแห่งบรรพชีวิน พบเรื่องราวตื่นตาตื่นใจ เช่นตอนไดโนเสาร์สิรินธรน่าโคราชเอนซิสและสยามแรปเตอร์สุวัจนติ “เติมสีสันให้ช้าง” กิจกรรมท่องเที่ยวไปในพิพิธภัณฑ์ กิจกรรม DIY By Khorat fossil Museum เปิดพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และการแสดงสินค้าชุมชนและชม ซ็อป ชิม ผลผลิตทางการเกษตร “ไม้หินกรีนมาร์เก็ต” ผลงานทางศิลปะ Thailand Art Biennale 2021

ผศ.ดร.อดิศร อธิการบดี มร.นม. เปิดเผยว่า โคราชบ้านเรามีทรัพยากรธรรมชาติโดดเด่นระดับประเทศแต่อยู่ในสถานะวิกฤติ คือ ทรัพยากรฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน มร.นม.จึงได้ตั้งสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีให้เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะตั้งแต่พ.ศ. 2547 เพื่อศึกษาวิจัย อนุรักษ์และให้บริการวิชาการด้านฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน ผลการดำเนินงานพบฟอสซิลหลายชนิด โดยเฉพาะฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุคจนเกิดการพัฒนาใหม่เป็นพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์และตีพิมพ์ผลงานวิจัยการพบฟอสซิลสัตว์พันธุ์ใหม่ของโลก 10 ชนิด กลายเป็นจุดแข็งและมีความสำคัญทางธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ จนกระทั่งองค์การยูเนสโกยอมรับให้เป็น Aspiring UNESCO Global Geopark รอรับการประเมินภาคสนามและรับการพิจารณาเป็นจีโอพาร์คโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 แต่สถานการณ์โควิด-19 จึงเลื่อนการประเมิน 2 ปี

อย่างไรก็ตามบทบาทของจีโอพาร์ค ในปัจจุบันได้รับการรับรองจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็น National Geopark แห่งที่ 2 ต่อจากสตูลจีโอพาร์ค เป้าหมายให้ประชาชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนและเป็นไปตามแนวทางของจีโอพาร์ค โดยบูรณาการเพื่ออนุรักษ์ ศึกษา วิจัยและพัฒนาด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Geotourism กับมรดกทางธรณีวิทยาเชื่อมโยงกับมรดกทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม โดยชุมชนเจ้าของแหล่งหรือใกล้แหล่งท่องเที่ยวในจีโอพาร์คเป็นผู้ให้บริการรวมทั้งการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เอกลักษณ์อัตลักษณ์ของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับจีโอพาร์ค

ทั้งนี้ฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ นับเป็นก้าวสำคัญของโคราชได้ค้นพบและอนุรักษ์ครบรอบ 100 ปี จากหลักฐานเชิงประจักษ์คืออนุสรณ์สถานไม้กลายเป็นหิน ร.6 จึงเป็นโอกาสดีในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างความเข้าใจเรื่องซากดึกดำบรรพ์ กระตุ้นให้ชาวโคราชตระหนักในความสำคัญนำมาต่อยอดเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก SDGs รวมทั้งสนับสนุนให้โคราชได้รับการรับรองจากยูเนสโกเป็นจีโอพาร์คโลกและก้าวสู่ความเป็นมหานครแห่งบรรพชีวินเมืองหนึ่งของโลก

“การพัฒนาพื้นที่ในส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวครอบคลุมพื้นที่ 32 อำเภอ โดยพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค ประกอบด้วยอำเภอสีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมือง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ กำลังรอการประเมินเป็นจีโอพาร์คโลกโดยองค์การยูเนสโก เพื่อให้โคราชเป็นเมืองแห่ง 3 มงกุฎยูเนสโก หรือ The UNESCO Triple Crown แห่งที่ 3 ของโลก” ต่อจากเกาะเชจูจีโอพาร์ค เกาหลีใต้ และเฉินหนงเจี้ยจีโอพาร์ค ประเทศจีน” อธิการบดี มร.นม. กล่าว

At Kantary Hotel, Muang District, Nakhon Ratchasima Province, Mr. Somkiat Wiriyakulnan, Deputy Governor of Nakhon Ratchasima Province with Mr. Somkiat Tandiloktrakul Vice President of Provincial Administrative Organization (PAO) Nakhon Ratchasima Assistant Professor Dr. Adisorn Nawanon, President of Nakhon Ratchasima Rajabhat University (Mr. Thammasat University) Ms. Watcharee Churaksa, Assistant Director of Special Area Development Administration for Sustainable Tourism (Public Organization) or DASTA Assistant Professor Dr. Nattinee Thongdee, Director of the Northeastern Petrified Wood and Mineral Resources Research Institute honor Nakhon Ratchasima Rajabhat University Join the press conference to organize the 6th Fossil Festival : 100 Years of Petrified Wood and Elephant Conservation from the reign of King Rama VI. Fossil Festival VI : 100 Years of Petrified Wood and Elephant Conservation from the Reign of King Rama VI is scheduled for This December 4-10 at the Petrified Wood Research Institute, Suranaree Subdistrict, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province, with a discussion on Paleontology, “100 Years of Conserving Thai Fossil Research in Korat”, “Fossils of Siam and Conservation”, “Korat Mahanakorn” of the World Paleontology”, watch the exhibition “Korat, the metropolis of the world’s paleontologists”, “peculiar petrified wood”, academic presentations “Learning about paleontology with researchers” “Fossil Museum for Recreation and Learning” Signing a Memorandum of Understanding on the Conservation of Paleontology Including activities through the Hybrids system “Tours, travels, travels, travels to the city of ancestors. Found an amazing story. such as the Sirindhorn Dinosaur episode, Korat ensis, and Siam Raptor Suwatchani. “Adding Colors to Elephants” Activities touring in the Museum DIY By Khorat fossil Museum activities open spaces to promote creative learning and showcase community products and see, shop, taste agricultural products. “Mai Hin Green Market” Art Work Thailand Art Biennale 2021

Asst. Prof. Dr. Adisorn, President of the University, revealed that in Korat, our home country has outstanding natural resources at the national level but is in a critical state, namely, fossil fuels of petrified wood. The university has set up the Petrified Wood and Mineral Resources Research Institute to be the equivalent of the Faculty since B.E. 2004 for research studies Conservation and academic services on petrified wood fossils The results showed many fossils. especially ancient elephant fossils Dinosaurs and other contemporaries until the redevelopment of the Museum of Prehistoric Elephants and the Dinosaur Museum and published research findings of fossils of 10 new world fauna has become a strong point and has international geological significance. Until the UNESCO recognized as an Aspiring UNESCO Global Geopark, waiting for field assessment and considering as a global geopark from 2020, but the situation of COVID-19 Therefore, the assessment was postponed for 2 years.

However, the role of Geopark It is currently certified by the Ministry of Natural Resources and Environment as the 2nd National Geopark after Satun Geopark. The goal is for local people to develop sustainable well-being in accordance with the Geopark guidelines. by integrating to conserve, study, research and develop with Geotourism tourism activities with geological heritage linked to natural heritage and cultural heritage. by the community of the owner of the source or near the attraction in the Geopark as a service provider as well as the distribution of the product The identity of the community associated with the Geopark.

The fossils or fossils This is an important step for Korat’s 100th anniversary discovery and conservation. From the empirical evidence, the petrified wood monument of Rama VI is a great opportunity to organize activities to promote understanding of fossils. Encourage the people of Korat to realize the importance of bringing the economy forward. Society and environment link the sustainable development of the world SDGs, including supporting Korat to be recognized by UNESCO as a World Geopark and becoming one of the world’s primitive metropolises.

“The development of areas related to conservation of natural resources and the environment and tourism covers 32 districts. It consists of Sikhio District, Sung Noen District, Kham Thale So District, Muang District and Chalerm Phra Kiat District. It is awaiting assessment as a World Geopark by UNESCO. To make Korat the city of the 3 crowns of UNESCO or The UNESCO Triple Crown, the 3rd in the world “after Jeju Island, Geopark, South Korea and Chennongjia Geopark, China”, President Mr. said the milk