วัดพระพุทธบาทบัวบก จังหวัด อุดรธานี

496

วัดพระพุทธบาทบัวบก ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่มีตำนานเล่าขานว่า ราวปี 2460 พระสงฆ์รูปหนึ่งได้เกิดนิมิตรอัศจรรย์เห็นพระบรมสารีริกธาตุสีขาวในอุโมงค์ ในพื้นที่วัดจึงชักชวนชาวบ้านรื้ออุโมงค์นั้นออก แล้วสร้างเจดีย์ครอบไว้แทนพระบรมสารีริกธาตุ มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันน่าอัศจรรย์ทั้งก้อนหินธรรมชาติ สรรสร้าง ประหนึ่งศิลปินนำมาจัดวางเป็นงานศิลปะ อีกถ้ำพญานาคซึ่งเล่าขานแต่อดีตว่าทางเดินภายในสามารถทะลุไปถึงแม่น้ำโขง พุทธศาสนิกชนชาวไทย ลาว สองฝั่งโขงต่างเดินทางมาสักการะด้วยความเลื่อมใสศรัทธาสืบมาจนกาลปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทบัวบกยังเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม หลบหนีความวุ่นวายจากสถานการณ์บ้านเมืองได้

ตามตำนานพระเจ้าเหยียบโลก กล่าวไว้ว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ในที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวงพระบาง ได้ทรงทราบว่านาคแถบฝั่งโขงมีความดุร้าย มักรบกวนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงได้เสด็จไปยังถ้ำหนองบัวบาน และถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของนาค 2 ตัว คือ กุทโธปาปนาค และมิลินทนาค พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมแก่กุทโธปาปนาค เมื่อกุทโธปาปนาคได้สดับพระธรรมเทศนา ก็บังเกิดความเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสก และถือพระไตรสรณาคมณ์เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต

หลังจากนั้นกุทโธปาปนาคก็นึกถึงน้องชายคือมิลินทนาคว่า ควรจะได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์เช่นตน เพื่อจะได้ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร จึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงถ้ำบัวบกอันเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค มิลินทนาคก็แสดงฤทธิ์อำนาจเพื่อขัดขวาง และทำร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีต่างๆ แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดจึงได้แปลงร่างเป็นมนุษย์ เข้าไปนมัสการพระพุทธองค์เพื่อขอขมา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดมิลินทนาค

เมื่อมิลินทนาคได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ก็สำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้ว และทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากมิลินทนาคมิใช่มนุษย์ พระพุทธองค์จึงอุปสมบทให้ไม่ได้ เพราะผิดพระวินัย ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงประทานไตรสรณาคมณ์ให้มิลินทนาคไว้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกและถือปฏิบัติต่อไป เป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต จากที่เคยเบียดเบียนทำร้ายสัตว์โลกมาเป็นช่วยเหลือเกื้อกูลสัตว์โลก ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา

เมื่อมิลินทนาครับไตรสรณาคมณ์แล้ว จึงกราบทูลขอรอยพระบาทพระพุทธองค์ไว้เป็นที่สักการะบูชา พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสถานที่แล้ว จึงได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ สถานที่นี้ แล้วจึงเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร พระพุทธบาทแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทบัวบก ตามชื่อถ้ำบัวบกนี้มิลินทนาคอาศัยอยู่

อีกทั้ง ในบริเวณใกล้เคียงกันก็ยังมี “ถ้ำพญานาค” ที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของพญานาคมิลินทนาค ซึ่งมีลักษณะเป็นโพรงขนาดใหญ่อยู่ใต้ชะง่อนหิน และเชื่อกันว่าในถ้ำพญานาคนี้สามารถทะลุไปออกยังแม่น้ำโขงได้ ทั้งนี้ พุทธศาสนิกชนผู้ที่มาเยือนอุทยานภูพระบาทแห่งนี้ และได้มากราบรอยพระพุทธบาทแล้ว ก็อย่าลืมไปชมประติมากรรมหินซึ่งเป็นฝีมือของธรรมชาติ เช่น หอนางอุสา และถ้ำต่างๆ มากมาย

หลังจากนั้น พระพุทธบาทแห่งนี้ก็ถูกทอดทิ้งมาเป็นระยะเวลานานกว่าสองพันปี อาจจะมีผู้บูรณะมาตามลำดับแต่ไม่ปรากฎหลักฐาน การบูรณะครั้งล่าสุดดังที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการบูรณะเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2462 โดยมีพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระศรีทัตเป็นผู้นำ ได้ธุดงค์มาตามลำดับจนถึง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เพื่อค้นหารอยพระพุทธบาทตามตำนานดังกล่าวข้างต้น ชาวบ้านในแถบนั้นก็ให้ข้อมูลตามที่ทราบ ในที่สุดก็ได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จากนั้นจึงได้ขอแรงชาวบ้านในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง สร้างพระเจดีย์ครอบรอยพระบาท ในการก่อสร้างต้องนำวัสดุมาจากที่ห่างไกล ทั้งจากประเทศไทยและจากประเทศลาว การคมนาคมก็ไม่สดวก ทำให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้เวลามาก แต่ด้วยแรงศรัทธาและความตั้งใจแน่วแน่ การก่อสร้างก็แล้วเสร็จ โดยใช้เวลาถึง 14 ปี

ยังมีการขุดค้นพบใบเสมาหินทราย จำหลักเป็นรูปบุคคลและลวดลายต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิลปะแบบทวารวดี ผสมกับศิลปะลพบุรี นอกจากนี้ บริเวณนอกโบสถ์ใกล้เพิงหินยังมีภาพเขียนสีอีกด้วย ซึ่งเป็นภาพลายเส้น เขียนด้วยสีแดงหารูปร่างแน่นอนไม่ได้ 2 ภาพ

Wat Phra Phutthabat Bua Bok The Buddha’s footprint is enshrined, with legend tells that around the year 1917, a monk had a miraculous vision of the white Buddha’s relics in the tunnel. In the temple area therefore persuaded the villagers to dismantle the tunnel Then built a chedi to replace the Buddha’s relics There are amazing sanctuaries, both natural rock formations, as if artists were placed into works of art. Another Phaya Naga Cave, which recounts in the past that the inner passageway can go through the Mekong River. Thai Buddhists on both sides of the Mekong have come to pay homage to the present day. Wat Phra Phutthabat Bua Kola is also a quiet place for meditation and practice. Can escape the chaos from the situation of the country

According to legend, the gods stepped on the world. It was said that the Lord Buddha had come to favor a great number of shatters. In Luang Prabang He knew that the naga of the Mekong side was ferocious Often disturbing humans and animals on a regular basis. In order to please the shatters from suffering He then went to Nong Bua Ban Cave and Bua Bok Cave, which is home to 2 Nagas, Kuttho Papnak and Milinda Naga. When Kuttho Papnak heard the sermon Became devotion and declared himself a worshiper And hold the Trisanakhom as a Sarana Refuge for a lifetime of remembrance

After that, Kuttho Papnak thought of his younger brother Milinda Nak that Should have heard the sermon from the Lord Buddha like him In order to behave in the right way Therefore asked the Lord Buddha to come please When the Buddha arrived at the Bua Kola cave, which was the residence of the Milinda Naga Milin Naga then showed the power to thwart And injuring the Buddha in various ways, but not in the end, and eventually transformed into a human being Went to worship the Buddha to ask for forgiveness The Lord Buddha praised the Dharma for the Milinda Naga.

When Milin Naga had heard the sermon Repented of what he had done And ask for ordination in Buddhism But because the Milinda is not human So the Buddha could not ordain Because of wrong discipline Therefore, the Buddha gave the Trisonanakhom to the Milinda Naga as a reliance on a memorial and to continue to practice. It’s a way of life change. From those who have been persecuted to injure the world’s animals to help support the animals of the world According to the Buddhist guidelines

When Milinana, Trisananakom already Therefore said to ask for the footprint of the Buddha image to be worshiped The Buddha considered the place. Therefore has stamped Buddha’s footprint at this place and then returned to Chetawan Maha Vihara This Buddha’s footprint was called Buddha’s footbath According to the name of this Bua Bok cave, Milinda Nak lives

In addition, in the vicinity of each other, there is also a “Naga Cave” believed to be the home of the Milinda Naga. Which looks like a large hollow beneath the rocky ridge And it is believed that in this Naga Cave can penetrate into the Mekong River. Buddhists who visit this Phu Phra Bat Park And have come to worship the Buddha’s footprint Do not forget to see stone sculptures which are natural craftsmanship such as Ho Nang U-sa and many caves.

After that this Buddha’s footsteps had been abandoned for more than two thousand years. There may be a restoration in order, but there is no evidence. The latest restoration, as seen today It was restored around the year 1919 by a number of monks from Tha Uthen district. Nakhon Phanom Province With Phra Sri That as a leader Have hiked in order until Ban Phue District, Udon Thani Province To find the Buddha’s footprint according to the legend mentioned above The villagers in that area also gave information as they knew. Finally discovered this footprint of the Buddha Then asked for labor in the area and nearby Build a Chedi around the footprint In the construction, materials must be brought from afar. Both from Thailand and from Laos Transportation was not as fresh. Making the construction difficult And take a lot of time But with faith and determination The construction was completed. It took up to 14 years.

There is also an excavation of the leaves of Sema sandstone. Remember the etiquette as a person and various patterns, which is Dvaravati art. Mixed with Lopburi art. In addition, outside the church near the stone shed, there are also colored paintings. Which is a line drawing Written in red, can’t find two exact shapes.