10 วงดนตรีทางเลือกที่ควรฟังของเพลง Rock ไทย

923

วงดนตรีไทย หลายวงที่ยังไม่พื้นที่ในวงกว้างมากนัก แต่ทำเพลงได้ดี แล้วมีความสามารถสูงเลยทีเดียว เราไม่อยากให้วงเล่านี้ หายไปตามกาลเวลา มีวงไหนบ้างที่อยากให้ฟังกัน ไปดูกันได้เลยจ้า

กัมปะนี

วงดนตรีแนวอิเลคโทรนิคร็อกสัญชาติไทยจาก จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โด่งดังในช่วงปี 2534 — 2535 โดยสมาชิกของวงประกอบไปด้วยโปรดิวเซอร์ฝีมือดีของแกรมมี่ทั้งหมด 3 คนคือ จ๊อด กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา ในตำแหน่งมือเบสและร้องนำ , ฉ่าย สมชัย ขำเลิศกุล ในตำแหน่งมือกีตาร์และร้องนำ และ ป๋อง อรรณพ จันสุตะ ในตำแหน่งมือกลองและร้องนำโดยก่อนจะใช้ชื่อวงว่า กัมปะนี ทางวงเคยใช้ชื่อตอนทำเดโมว่า สิงห์เฒ่า เนื่องจากสมาชิกในวงเป็นโปรดิวเซอร์ฝีมือระดับพระกาฬแต่เพราะชื่อนี้ไปคล้ายกับเบียร์ยี่ห้อ ซิงเต่า ของจีนจึงต้องเปลี่ยนเป็นชื่อกัมปะนีแทน

โดยสตูดิโออัลบั้มชุดแรกและชุดเดียวของทางวงออกวางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในชื่ออัลบั้มว่า ไม่มีจำกัด โดยมีเพลงที่ติดหูคนฟังมาจนถึงทุกวันนี้ได้แก่ สรุปว่า…บ้า , กลับคำเสีย , นักเดินทาง และ วัด เป็นต้น

หลังจากจบการโปรโมตอัลบั้มชุดนี้สมาชิกทั้ง 3 ก็ได้แยกย้ายกันกลับไปทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ตามเดิม

คาไลโดสโคป

เป็นวงดนตรีเฮฟวีเมทัลสัญชาติไทยวงแรก ๆ ที่เติบโตมาจากยุคดนตรีในแคมป์ทหารอเมริกัน (จีไอ) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 มีสมาชิกคนสำคัญ คือ ต้อม อิราวัต บุนนาค ผู้ก่อตั้งวง โดยเป็นมือเบสของวงมาตั้งแต่แรกเริ่ม เอ็ดเวิร์ด แวนโซ นักร้องนำเสียงแหบเสน่ห์ เจ้าของฉายา “ร็อด สจ๊วตเมืองไทย” และ ศิริศักดิ์ ศิริโชตินันท์ มือกีตาร์ของวง ซึ่งเป็นมือกีตาร์ระดับชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของประเทศ ที่รู้จักดีในชื่อของ “หมู คาไลโดสโคป”

วง คาไลโดสโคป มีผลงานอัลบั้มคัฟเวอร์เพลงสากล 3 ชุด และไทยสากล 2 ชุด คือ “กระชากใจ” ในปี พ.ศ. 2535 มีเพลงที่ได้รับความนิยม ได้แก่ กระชากใจ เพลงร็อคมันส์ที่กลายเป็นคำฮิตติดปากวัยรุ่นในยุคนั้น กับ เพราะเรานั้น…คู่กัน ซึ่งเป็นเพลงประกอบโฆษณาคอฟฟี่เมต และกลายเป็นเพลงร็อกประจำวงที่ได้รับความนิยมตลอดกาล ส่วนผลงานชุดที่สอง คือ “เหนือกาลเวลา” ในปี พ.ศ. 2537 กับทางค่ายรถไฟดนตรี มีเพลง เหนือกาลเวลา ที่ได้รับความนิยม

ปี 2559 คาไลโดสโคป ได้ออกซิงเกิลใหม่ 2 เพลง คือเพลง อีกสักครั้ง และเพลง ใจไม่แพ้ โดยอิราวัติ บุนนาค หัวหน้าวงทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ของ 2 เพลงนี้ และศรายุธ สุปัญโญ ทำหน้าที่เอ็กเซ็กคิวทีฟโปรดิวเซอร์ แต่งเนื้อร้องโดย ภูษิต ศศิธรานนท์

ปี 2560 เอ็ดเวิร์ด แวนโซ ได้เข้าร่วมแข่งขันรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 6 ทางช่อง 3 แต่ไม่ผ่านในรอบKnockout

Ewery

กลุ่มดนตรีสัญชาติไทยสังกัดวอทเดอะดัก ประกอบด้วยสมาชิกปัจจุบันคือ วัท (วรรธน์ ภิญโญวาณิชกะ) ออกผลงานอัลบั้มแรกชุด Completed Things ซึ่งมีผลงานดังติดอันดับคลื่นวิทยุและเอ็มทีวีไทยแลนด์อย่างเพลง “อาย” ผลงานอัลบั้มชุดนี้พวกเขาดูแลทั้งแต่งเนื้อเพลง, ทำนอง, เรียบเรียง โดยได้โกมล บุญเพียรผลมาเป็นโปรดิวเซอร์ให้

Ewery มาจากคำว่า Music is everything. แรกเริ่มเดิมทีมีสมาชิก 2 คน คือ เอก (เอก ไหมพรหม) มือกลอง กับ วัท ร้องนำ ซึ่งตอนนั้นทั้งสองทำเพลงกันเองทุกอย่างทุกเล่นกันเองทุกชิ้น จึงนึกถึงคำว่า Every (Everything) “E” หมายถึง เอก ใช้ตัว “W” แทน “V” เพื่อแทนวัท เป็นการเล่นคำ จนได้พบกับมด (สกล เต็งสกุล) มือเบส และ เต้ (อรรถสิทธิ์ ชวนพิพัฒน์พงศ์) มือกีตาร์ เข้ามาเติมในวงในภายหลัง

Ewery จึงหมายถึง ทุก ๆ สิ่งอย่างที่สมาชิกในวงทำด้วยกัน ใช้เวลาช่วงดี ๆ ด้วยกัน คือทุกสิ่งอย่างที่ทำให้มาพบกัน สนุกด้วยกันกับเสียงดนตรี

กล้วยไทย

วงดนตรีเฟิร์สอคเชนไทยที่มีลัคนาสังคมโดยเดิมแรกวงกล้วยไทยเป็นเพียงโปรเจกต์การแสดงของต้อยต่ำศักดิ์จันทร์ปานซึ่งเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณาได้คนดนตรีมาร่วมกันทำพีอัลบั้ม ชุดดังดังขึ้น แต่ในปี 2545 เพลงพรหมจารีที่เปิดให้ฟังในฟังดู Fat Radio ติดในชาร์จ 40 ไม่นานธเนศวรานุทางค่ายจัสตินกำลังใจให้ทำอัลบั้มเต็มในโครงการ Break The Barier ร่วมกับวอร ควอร์มิวสิคไทยแลนด์

เดิมทีกล้วยเดียวไทยเป็นแค่งานของพี่ต้อยเทิดศักดิ์จันทร์ปานซึ่งทำงานเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณาอยู่ที่ CINE DIGITAL SOUND STUDIO ได้เพื่อนเพื่อน ๆ พี่ ๆ และรวมทั้งเอส (นักร้องนำ) มาช่วยกันทำงาน อีพีขึ้นเพลงมาถึงมันว่ามันแค่งานที่ทำขึ้นมาเพื่อความสนุกเมื่อคืนว่าในปีนั้น (2545) เพลงพรหมรังสีที่ทดลองส่งไปเปิดที่ FAT RADIO 104.5 เข้าไปอยู่ใน CHART FAT 40 ไม่นานตอนนั้น คุณธเนศเจ้าของ JUSTICE MUSIC ได้ร้องเพลงให้ทำอัลบั้มเต็มในโครงการ BREAK THE BARIER ร่วมกับ WARNER MUSIC THAILAND อัลบั้มเต็มชุดแรกของกล้วยไทยไม่ได้ WARNER ปล่อยให้โดยงานทั้งอัลบั้มเราโปรดิวซ์เองรวมทั้งเพลงและ การดนตรีดนตรี

เพลงของกล้วยไทยในอัลบั้มแรก (อัลบั้มกล้วยไทย) เป็นงานเพลงแนวนูเมทัลดนตรีหนักและบอกผ่านพูดผ่านเก้อที่นำเอาเรื่องราวสังคมมาเล่าในมุมมองที่ไม่ปกติโดยใช้ภาษาง่ายๆว่าด้วยการพูดต่อมาใน อัลบั้มที่สอง (เพลงรักระดับโลก) สถานการณ์แข่งขันไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสงครามระหว่างประเทศ, ในภาคใต้ของไทย, ภัยธรรมชาติได้ถูกนำมาใส่ลงไปในเนื้อหาของเพลงโดยภาคดนตรีที่มีกว้างขึ้น เป็นเมทัลลูกกวนที่บันทึกสดทุกชิ้นและลดขั้นตอนของ Sampling ลงจากอัลบั้มที่แล้ว

คำว่ากล้วยไทยพี่ต๋อยเป็นคนตั้งท่าว่าเพราะต้องการชื่อแบบไทย ๆ ง่ายๆและเชย ๆ (ด้วยคำถามคาใจที่ว่าทำไมต้องตั้งชื่อวงเป็นภาษาฝรั่ง) เพราะคนไทยมักจะคำถามง่ายๆกับกล้วย เช่นง่ายเหมือนภัยพิบัติเงียบสงบปากเปล่าหรือเรื่องกล้วย ๆ รวมเป็นชื่อวงว่ากล้วยไทย

ดอนผีบิน

วงดนตรีเมชเมทัลของประเทศเกิดจากการรวมตัวกันเพื่อทำผลงานทางดนตรีของสามพี่น้องตระกูลแก้วทิตย์เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยสร้างงานแบบเพลงไม่ค่ายค่ายใดอย่างถาวรและเคยออกอัลบั้มเพลงทั้งค่ายเล็กไปจนถึงค่ายใหญ่อย่างวอร์นอร์มิวสิกไทยแลนด์และจีราฟเรนซอกในเครือจีเอ็มเอ็ มแกรมมี่

เพลงในเพลงส่วนใหญ่ของทางวงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มสังคมการทำลายล้างรัฐบาลตลอดจนปรัชญาชีวิตและจิตวิญญาณรวมถึงความตายโดยพูดผ่านความร้อนแรงรัดและรุนแรงของดนตรีชีรชเมทัล แต่ใน ในขณะเดียวกันก็มีคำพูดในภาษาที่เข้ามาทักทายกันดังบทกวีโดยในภาคดนตรีนั้นทางวงเคยได้รับอนุญาตให้พูดถึงอะวอร์ดส์สาขาเพลงยอดเยี่ยมถึงสองสมัยจากเพลง Return to The Nature II ในอัลบั้มสองเพลง ฝั่งและเพลงใดไร้จุดยืนในอัลบั้มเรืองแสง

วงดอนผีบินได้รับการแสดงจากนักวิจารณ์ดนตรีให้เป็นอุกกาบาตทางดนตรีเนื่องจากวงดนตรีจากทางลาดในภาคเหนือที่ไม่มีที่มาและไม่ได้ค่ายเพลง แต่ใหญ่กลับมีความเป็นตัวของตัวเองอย่าง สูงทั้งภาษาที่งดงามดนตรีและเพลงในเพลงรวมทั้งภาพวาดสีน้ำมันบนปกอัลบั้มที่สมบัติแก้วทิตย์มือผู้เป็นหัวหน้าวงวาดด้วยฟีเจอร์อีกทั้งชื่อของวงที่ตั้งแบบไม่สนใจการตลาดและเพียงแค่การ ออกอัลบั้มชุดแรกก็สามารถตรวจกระแสในเพลงครอสได้และได้รับผู้อ่านโหวตจากกลุ่ม The Quiet Strom ในอัลบั้มชุดต่อมา

โดยชื่อดอนผีบินของวงมาจากชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งทางตอนเหนือของจังหวัดน่านซึ่งเคยเป็นสมรภูมิรบล้างเผ่าพันธ์ในสมัยล้านนาต่อมาได้มีตำนานเล่าว่าในคืนวันจันทร์จะมีเตียงวน ลอยในเสียงอย่างนั้นบางครั้งก็มีเสียงร้องครวญครางกร่างโน้มเอียงดังดังกล่าวถูกจังหวะนามว่าดอนผีล่องลอย

Oblivious

สมาชิก 5 คนที่รวมตัวกันขึ้นเมื่อประมาณเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2548 ที่เล่นแนวเพลง อัลเทอร์เนทีฟเมทัล โดย อาท (ร้องนำ) อุ้ย (กีต้าร์) ร็อก (กีต้าร์) บอย (เบส) ซึ่งเคยเป็นเพื่อนสมัยเรียนไทยวิจิตรศิลปกันมาก่อน

แต่ตอนนั้นต่างคนต่างมีวงของตัวเอง จังหวะนั้น อุ้ย ซึ่งเปิดห้องซ้อมดนตรี Home Music ต่างคนก็ต่างพาวงของตัวเองมาซ้อมที่ห้องซ้อมของอุ้ย และทุกครั้งที่เลิกซ้อม ก็มักจะลงมานั่งคุยกันเสมอ และก็ขึ้นไปซ้อมแจมกันอยู่บ่อยครั้ง จนมาวันหนึ่ง มานั่งคุยกันเล่นๆว่ารวมวงเล่นเพลง cover แต่ตอนนั้นขาดมือกลอง ร็อกได้ชวนเมย์ (มือกลอง) ซึ่งเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยรังสิต (คณะวิทยาลัยดนตรี) ด้วยกัน ซึ่งเมย์ก็ตอบตกลง แล้วหลังจากนั้นก็เริ่มซ้อมกันอย่างจริงจัง ทั้ง Cover และแต่งเพลงไปด้วยพร้อมๆกัน ซึ่งระหว่างนั้น พวกเขาก็ตระเวนเล่นตามงาน Underground ต่างๆไปด้วย ในเร็ววันนี้ อัลบั้มแรกของพวกเขาที่ใช้ชื่อว่า “More Sugar Extra Tatto” ภายใต้สังกัดมิวสิก บักส์ กำลังจะคลอดออกมาให้เราได้ฟังและได้มันส์ แต่กว่าจะมาเป็นความดุดันอันสวยงามของพวกเขาอย่างทุกวันนี้ คงต้องบอกว่า ที่มาที่ไปกว่าจะมาเป็น อ็อบบลิเวียส ก็ถือว่าโชกโชนและโลดโผนไม่น้อย นั่นหมายความว่า อัลบั้มชุดนี้จะต้องมีอะไรน่าสนใจที่เราเองก็คงไม่อาจมองข้ามได้ จนมาวันหนึ่ง มีทีมงานของทาง Music Bugs ได้มาเจอพวกเราที่งาน Underground งานหนึ่ง จึงได้ชักชวนให้ลองส่ง Demo เข้าไปที่ Music Bugs ซึ่งทาง Music Bugs ก็ให้โอกาสพวกเราได้เข้ามาทำงานกัน หลังจากที่อัลบั้มที่ 2 ออกมาได้ไม่นาน วงก็ประกาศแยกทางกัน โดยที่ เมย์ มือกลองได้ไปเป็นมือกลองให้กับวงลาบานูน และ อาร์ต ได้ย้ายไปตั้งวงใหม่ชื่อ Last Fight for Finish

Desktop Error

กลุ่มศิลปินไทย ในสังกัด SO::ON Dry Flower ประกอบด้วยสมาชิก ตุ้ย-ชาญณรงค์ แจ่มขาว (เบส) , เบิร์ด-อดิศักดิ์ พวงอก (กีต้าร์/คีย์บอร์ด) , เล็ก-สมโภช กองไพบูลย์ (ร้องนำ) , เม้ง-ภัทรพล ทองสุขา (กลอง) และ อ๊อฟ-วุฒิพง ลี้ตระกูล (กีต้าร์) ทำเพลงในแนวชูเกซเซอร์ (Shoegazer)

เริ่มต้นจากงานรับจ้าง โดยเล่นเพลงวงร็อกอังกฤษอย่าง เรดิโอเฮด, พิงก์ฟลอยด์, เดอะสโตนโรสเซส เป็นต้น โดยเล่นที่ร้านอาหารลัลลาบาร์ ร้านในละแวกถนนราชดำเนิน ช่วงคืนวันเสาร์ หลังจากนั้นวงจึงได้ตัดสินใจทำเพลงของตนเอง ในชื่อวง เดสก์ทอปเออร์เรอร์ ต่อมาได้เข้ามาอยู่ค่ายเพลงอินดี้ SO:ON Dry Flower โดยได้โปรดิวเซอร์ Koishi shimisu เป็นผู้ช่วยเรียบเรียงเพลง ได้ออกผลงานชุดแรก ชุด Instinct ในปี ค.ศ. 2006 ต่อมาได้ออกผลงานชุดที่ 2 ในปี ค.ศ. 2009 ชื่อชุด Ticket To Home มีเพลง “ทุกทุกวัน” ติดชาร์ตแฟต 40 ของสถานีวิทยุแฟตเรดิโอ ที่อันดับ 1

ในปี 2016 เป็นการครบรอบ 10 ปีของวงเดสก์ทอปเออร์เรอร์ จัดขึ้นในวันที่ 28 มกราคม โดยจัดขึ้นที่ Montri Studio ลาดพร้าว 101

BrandNew Sunset

ประกอบด้วยสมาชิกคือ ศุภลักษณ์ โตวัชระกุล (ตูน) ร้องนำ, สุชาย ชูเชิด (ชาย) กีตาร์/ร้อง, ธนัช คงเกรียงไกร (ก้อง) กีตาร์/ร้อง, กานต์ณัฐ พหลกุล (ยุทธ) เบส และวรุตม์ หุนตระกูล (เติร์ก) กลอง | วรินทร ศรีนิล (บลูม) กลอง (อดีตสามาชิก), กานต์ เสนีย์ตันติกุล (กานต์) กีตาร์/ร้อง (อดีตสมาชิก)

โดยทั้ง 5 คนเป็นเพื่อนมาก่อน รวมตัวแต่งเพลงกันโดยผสมผสานความชอบของแต่ละคนเข้าไปในเพลง เช่น ร็อก, พังก์, เฮฟวีเมทัล, อีโม, โพสต์พังก์ ฯลฯ หลังจากที่ใช้เวลาในการซ้อมและแต่งเพลงกันประมาณครึ่งปีจึงเดินหน้าเข้าห้องอัดเพื่อบันทึกเสียงผลงานชุดแรก “Pick you up when you’re falling down” (2003) ซึ่งทำหน้าที่โปรดิวซ์และควบคุมการมิกซ์เสียงเองทั้งหมดด้วยตนเอง อัลบั้มชุดนี้ขายหมดในเวลาในไม่กี่เดือน จากนั้นก็ได้ตระเวนตามทัวร์คอนเสิร์ต ทำให้ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักในวงการเพลงใต้ดิน

ต่อมาในปี 2005 พวกเขากลับมากับอัลบั้มชุดที่ 2 อัลบั้ม “Realistic” ซึ่งวางขายในต่างประเทศอย่าง สิงคโปร์, มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ พร้อมกับทัวร์คอนเสิร์ตสนับสนุนอัลบั้มในประเทศดังกล่าวอีกด้วย โดยใน 2 ชุดแรก ยอดขายมีเกือบ 3 หมื่นแผ่นทั้งในและต่างประเทศ

ในปี 2008 พวกเขาเซ็นสัญญากับโซนีบีเอ็มจี เพื่อออกผลงานชุดที่ 3 ชื่อ “BrandNew Sunset” ที่ใช้ชื่อวงเป็นชื่ออัลบั้ม และ มีโปรดิวเซอร์อย่างสก็อตต์ มอฟฟ์แฟตต์ (อดีตสมาชิกของเดอะ มอฟฟ์แฟตส์ วงพี่น้องชื่อก้องจากแคนาดา)

นอกจากนี้อัลบั้มชุดที่สามนี้ยังเป็นครั้งแรกที่แบรนด์นิว ซันเซทแต่งและร้องเพลงเป็นภาษาไทยอีกด้วย

แบรนด์นิว ซันเซท ออกผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 Welcome Home ช่วงปลายปี พ.ศ. 2553

หลังจากประสบความสำเร็จกับอัลบั้ม Welcome Home (2553) 6 ปีต่อมาพวกเขาได้ออกผลงานสตูดิโอลำดับที่ 5

Of Space And Time (2559)

เดธ ออฟ อะ เซลส์แมน

วงดนตรีไทยแนวอินดี้ร็อก ก่อตั้งและมีผลงานเพลงในปี พ.ศ. 2545 โดยมีนักร้องนำคือ จตุรวิธ ฉัตตะละดา (กระชาย) และ ปริญญ์ อมรศุภศิริ (ปริญญ์) สังกัดค่ายสมอลล์รูม

พวกเขาทำเพลงกันเองตั้งแต่เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ก่อนที่จะได้มีโอกาสนำเพลง “สปิน” เข้ามาอยู่ในอัลบั้ม “Smallroom 002” และเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่นักฟังเพลงนอกกระแส หลังจากพวกเขาออกผลงานอัลบั้มแรก “Death of A Salesman” และบันทึกการแสดงสด “Death of A Salesman Live!” พวกเขาหันไปทำงานเบื้องหลัง และยังไม่มีข่าวการออกอัลบั้มใหม่แต่อย่างใด

Helmetheads

วงดนตรีร็อกแอนด์โรลชาวไทยจากกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสี่คน คือ ชตารัช ศรีดำรงรักษ์ (ร้องนำและกีตาร์) เดียว สุวีระ (กีตาร์เบส) สดายุ สวรรณจุณีย์ (กลอง) และณัฐพงศ์ เลิศศรีนวล (กีตาร์)

วงประสบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 กับเพลง “อินสตาแกรม” ซึ่งเป็นเพลงฉบับภาษาไทยครั้งแรกของวง โดยก่อนหน้านี้วงเคยปล่อยเพลงที่นำมาร้องใหม่ในฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้น

ภายหลังการปล่อยเพลง “อินสตาแกรม” เฮลเมทเฮดท์ได้ปล่อยเพลงที่เล่าถึงความสัมพันธ์ทางโซเชียลตามมา “อันเฟรนด์” (2558), “เอมตีรูม” (2559), “เอ็มเอสเอ็น” (2560) และออกอัลบั้มแรก โซเชียล น็อตเวิร์ก (Social Notwork) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ก่อนเปิดตัวนั้น วงเคยเล่นดนตรีตามร้านอาหารต่าง ๆ จนกลายเป็นที่รู้จักระดับหนึ่ง และได้เซ็นสัญญากับสไปซีดิสก์ในเวลาต่อมา เฮลเมทเฮดส์กล่าวว่าแนวเพลงของพวกเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปินยุค 1960 คือ เดอะบีเทิลส์, เดอะคิงส์, เดอะเอาท์ไซเดอร์ และเอลวิส เพรสลีย์ ไปจนถึงการแต่งกายวินเทจ และทรงผมที่คล้ายหมวกกันน็อกเลยเป็นที่มาของชื่อวง