สมาคมสื่อฯภาคอีสาน ติดอาวุธทางปัญญา “ใช้สื่อสังคมออนไลน์ อย่างสร้างสรรค์ และมีพลัง”

337

ณ ศูนย์เรียนรู้ 19 พอเพียง บ้านโนนสวรรค์ ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน

(องค์กรสาธารณประโยชน์) ร่วมกับตำบลพระลับ ,ชมรมสื่อสร้างสรรค์ จังหวัดขอนแก่น และสถาบันพัฒนาสื่อสารมวลชน จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสร้างสรรค์ จ.ขอนแก่น ประจำปี 2563 เรื่อง “การใช้สื่อสังคมออนไลน์ อย่างสร้างสรรค์ และมีพลัง” ขึ้น ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2563

โดย นายศิวกร มิตราช ปลัดอำเภอเมืองขอนแก่น เป็นประธานเปิดโครงการ นายปุณพจน์ เขม้นเขตการ นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ ,นางสาวปนัดดา ปิณฑะดิษ นักพัฒนาสังคม ,พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ,นายวินัย ทองทัพ กำนันตำบลพระลับ ,นางสุพัตรา ศุขโข ประธานชมรมสื่อสร้างสรรค์ จังหวัดขอนแก่น ,ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 19 หมู่บ้านในตำบลพระลับ ,ผู้บริหารตำบลพระลับ และผู้เข้ารับการอบรม เข้าร่วมพิธี
ได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุชาติ พรมมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ เว็บไซต์ สร้างแอพพลิเคชั่น และโซลูชั่นบนมือถือ มาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้กับผู้เข้ารับการอบรม

และ ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ผอ.มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นไทย บรรยายพิเศษเรื่อง “วิสาหกิจไทย สร้างชาติ สร้างอนาคต” เพื่อเตรียมส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจหลังสภาวะโรค covid-19 ระบาดที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับการอบรมเป็นบุคลากรจากตำบลพระลับ นักเรียนโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 (สมาน สุเมโธ) และโรงเรียนบ้านพระคือหนองโพธิ์วิทยา รวมทั้งสิ้น 58 คน

พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยี อย่างไม่หยุดยั้ง กระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง สื่อกลายเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งใหม่ที่สามารถกระตุ้นการรับรู้ และดึงดูด ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนจะใช้เวลาไปในการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น หากเยาวชนและประชาชนในชุมชนตำบลพระลับได้รับการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่มีคุณภาพ ให้เกิดความฉลาดรู้ด้านสื่อ และความตื่นรู้ทางปัญญาได้อย่างทรงพลัง จะสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ผ่านนักสื่อสารสร้างสรรค์ ที่ได้เรียนรู้กระบวนการผลิตสื่อ และสามารถบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ