ทำไมต้องเที่ยวลาว ? เสน่ห์ เมืองลาวที่ต้องมา

1297

ทำไมต้องเที่ยวลาว ? คำถามของนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยออกสู่ต่างประเทศ ลาวเป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางสู่ธรรมชาติ

และวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ที่สำคัญการสื่อสารที่สะดวกในการพูดคุย แต่ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สถานที่ไหน น่าเที่ยวบ้าง เลยอยากขอแนะนำสถานที่เที่ยวภายในเมืองหลวงของประเทศลาว ให้รู้จักกันก่อน ที่สำคัญปีนี้เป็นปีการท่องเที่ยวลาวอีกด้วย

Pha_That_Luang_02พระธาตุหลวง(ลาว: ທາດຫລວງ หรือ ลาว: ພຣະທາດຫລວງ)

นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างแยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็นภาพประธานในดวงตรา

ตำนานการสร้างพระธาตุหลวง
ตามตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุหลวงสร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างเมืองนครเวียงจันทน์ หลังจากก่อสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างคือ บุรีจันอ้วยล้วย หรือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้าเหนือหัวผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ 5 องค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหัวเหน่า 27 พระองค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย โดยก่อเป็นอุโมงค์หินคร่อมไว้ อุโมงค์นั้นกว้างด้านละ 5 วา ผนังหนา 2 วา และสูงได้ 4 วา 3 ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรี จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหารขึ้นในเมืองจันทบุรีหรือนครเวียงจันทน์ 5 หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์นั้นด้วย ตามตำนานดังกล่าวระบุศักราชการสร้างว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 238

ในระยะต่อมาแม้ว่าชื่อของเวียงจันทน์จะไม่ได้ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ใดเลย แต่อย่างไรก็ดี นครเวียงจันทน์ก็ยังคงเป็นเมืองสำคัญอยู่ตลอดมา ดังปรากฏการอ้างถึงชื่อเมืองเวียงจันทน์ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และในพงศาวดาวลาวฉบับต่างๆ ก็ระบุด้วยว่านับตั้งแต่พระเจ้าฟ้างุ้มเสวยราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบางแล้ว ก็ได้มีการส่งเชื้อพระวงศ์และขุนนางสำคัญมาปกครองเมืองนี้โดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2109 หลังจาก พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้าง ได้ทรงย้ายราชธานีเมืองเชียงทองหลวงพระบาง ลงมายังนครเวียงจันทน์ได้ 6 ปีแล้ว พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ ในเขตพระราชอุทยานทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทน์ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เก่าที่มีมาแต่โบราณกาล เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงทรงขนานนามพระธาตุนี้ว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” หรือ “พระธาตุใหญ่” (แต่คนส่วนมากมักเรียกว่า “พระธาตุหลวง”) และมีพระราชโองการให้อุทิศข้าพระธาตุจำนวน 35 ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษาพระธาตุนี้ พร้อมทั้งที่ดินสำหรับให้ครอบครัวของข้าพระธาตุทำกิน

ปะตูไซ (ลาว: ປະຕູໄຊ; ในอดีตเรียกว่า “อะนุสาวะลี”)
เป็นอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ท้ายสุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของถนนล้านช้าง ใจกลางนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ก่อสร้างในระหว่างปี ค.ศ. 1957 ถึงปี ค.ศ. 1968[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง] เพื่อเป็นการสดุดีวีรชนผู้ร่วมรบเพื่อประกาศเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส ปะตูไซถูกตกแต่งด้วยศิลปะแบบล้านช้าง นำสัตว์ในตำนานตามความเชื่อของศาสนาพุทธ เช่น กินรี และพญานาค เป็นต้น และเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาตกแต่ง บริเวณโดยรอบมีลานจัดการแสดงน้ำพุประกอบดนตรีและสวนปะตูไซ

Patuxay,_Vientiane,_Laosปะตูไซ เป็นคำประสมมาจากคำว่า “ปะตู” (ປະຕູ) หมายถึง “ประตู” และ “ไซ” (ໄຊ) มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า “ชะยะ” หมายถึง “ความชนะ” ความหมายของคำจึงเหมือนเช่นเดียวกับคำว่า “ประตูชัย” ในภาษาไทย ส่วนการถอดเป็นอักษรโรมันของคำว่า ปะตูไซ นั้นมีหลายรูปแบบ ได้แก่ Patuxai, Patuxay, Patousai และ Patusai หลังจากประตูไซสร้างเสร็จ เป็นช่วงที่ลาวมีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สถานที่นี้ถูกรู้จักกันในชื่อ “อะนุสาวะลี” (ອານຸສາວະລີ) ซึ่งหมายถึง “ความทรงจำ” เนื่องจากเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับการสดุดีวีรชนจากการประกาศเอกราชต่อมาในปี ค.ศ. 1975 ขบวนการปฏิวัติฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว ยึดอำนาจรัฐบาลได้เด็ดขาดและพระมหากษัตริย์สละราชสมบัติ ทำให้เปลี่ยนการปกครองจากแบบเดิมเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ จึงเปลี่ยนชื่ออะนุสาวะลีเป็น “ปะตูไซ” (ປະຕູໄຊ) เพื่อเป็นเกียรติแก่ชัยชนะของคณะปฏิวัติ จนใช้เรียกกันถึงปัจจุบัน[3] นอกจากนี้ปะตูไซยังถูกเรียกว่าเป็นอาร์กเดอทรียงฟ์แห่งเวียงจันทน์ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส และมีชื่อเล่นเรียกว่า “รันเวย์แนวตั้ง” เพราะใช้ปูนซิเมนต์สำหรับสร้างสนามบิน

1024px-Laos1_558อาสนวิหารพระหฤทัย นครเวียงจันทน์ (ลาว: ວັດກາໂທລິກ ນະຄອນວຽງຈັນ; ฝรั่งเศส: Cathédrale du Sacré-Cœur de Vientiane)

เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในบ้านเก้ายอดใกล้สถานทูตฝรั่งเศส กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว โบสถ์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2471 เพื่อรองรับเขตผู้แทนพระสันตะปาปาเวียงจันทน์ (ละติน: VICARIATUS APOSTOLICUS VIENTIANENSIS; ลาว: ອັກຄະສາວົກແທນຂອງນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ) และถูกยกสถานะเป็น อาสนวิหาร โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 เมื่อปี พ.ศ. 2495 ปัจจุบันอาสนวิหารพระหฤทัยอยู่ภายใต้การดูแลของมุขนายกยวง คำเส วิทะวง ประมุขมิสซังเวียงจันทน์

800px-That_Damธาตุดำ (ภาษาลาว ທາດດຳ, หมายถึง เจดีย์สีดำ)

เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่เวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว ชาวลาวส่วนมากเชื่อว่า มันเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาคเจ็ดหัว ที่พยายามจะปกป้องพวกเขา จากการบุกรุกโดยกองทัพสยาม ในปี ค.ศ. 1827

หอพระแก้ว (ลาว: ຫໍພະແກ້ວ)
คือสถานที่เคยประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันเหลือเพียงพระแท่นที่ประดิษฐาน เพราะพระแก้วมรกตองค์ปัจจุบันได้รับการอัญเชิญลงมาประทับที่กรุงธนบุรีในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นผู้อัญเชิญ แต่เดิมหอพระแก้วนั้นเคยเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากนครเชียงใหม่ อาณาจักรล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดาคือพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป พร้อมทั้งกวาดต้อนราชวงศ์ชาวลาวกลับไปยังกรุงเทพมหานคร

1024px-Vat_Phra_Kèoสำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2480-2483 ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของเจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชด้วย แม้หอพระแก้วปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก็ยังเดินทางมาสักการบูชากันเป็นจำนวนมาก สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดง พระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหินในแขวงเชียงขวางวางตั้งอยู่ 1 ใบ อาณาบริเวณรอบ ๆ วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศสสมัยอาณานิคมมาก่อน

LaosNationalMuseumหอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ (ลาว: ຫ ໍພ ິພ ິທະພ ັນ ແຫ່ງຊາດ; อังกฤษ: Lao National Museum)
ตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งก่อตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติโดยเน้นถึงการปฏิวัติในยุค 1970 และตั้งอยู่ในอาคารยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 2007 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้บริจาคเงินทุนเพื่อช่วยพัฒนาพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1925 โดยเป็นที่พำนักของผู้ว่าราชการฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์นี้นำเสนอประวัติศาสตร์ของประเทศลาว โดยมุ่งเน้นถึงการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวลาวจากนักล่าอาณานิคมต่างชาติรวมถึงกองกำลังจักรวรรดินิยม พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสามแสนไทย ใกล้กับโรงแรมลาวพลาซ่า