ศาลาแก้วกู่

1597

44933258_1335254643278436_7046204662986309632_o” หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดแขก” คือ สวนประติมากรรมปูนปั้นขนาดใหญ่ มีพื้นที่หลายสิบไร่ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพุทธมามกะสมาคมจังหวัดหนองคาย สถานที่แห่งนี้สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจของ “พ่อปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์” เมื่อราวปี พ.ศ. 2521 ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนของทุกๆ ศาสนาสามารถนำมาผสมผสานกันได้ ( “พ่อปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์” เป็นนักปฏิบัติธรรมแต่เสียชีวิตไปแล้วราวๆ สิบปีกว่า ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมได้ลองสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรเข้าชมศาลาแก้วกู่แล้วเข้าใจว่า พ่อปู่น่าจะบวชเป็นพราหมณ์นุ่งขาวห่มขาว ปัจจุบันร่างของพ่อปู่บุญเหลือถูกเก็บรักษาเอาไว้บนชั้น 3 ของศาลาแก้วกู่ในสภาพที่ไม่เน่าเปื่อย นักท่องเที่ยวสามารถแวะขึ้นไปสักการะร่างของพ่อปู่ได้ทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ 7.00 – 17.00น.)

งานประติมากรรมปูนปั้นซึ่งตั้งอยู่ในสวนโดยรอบอาณาบริเวณของศาลาแก้วกู่นั้น ส่วนมากจะเป็นงานประติมากรรมที่บอกเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ตามตำนานความเชื่อทางพุทธศาสนา พราหมณ์ ฮินดู และคริสต์ แต่ก็มีงานประติมากรรมบางส่วนซึ่งได้จำลองเอาเหตุการณ์จากวรรณคดี สุภาษิตโบราณ หรือนิทานพื้นบ้าน นำมาจัดแสดงไว้เช่นกัน (ตัวอย่างงานประติมากรรมปูนปั้นในบริเวณของศาลาแก้วกู่ เช่น พระพุทธรูปปางนาคปรก , พระโพธิสัตว์ , พระยาจิตราช , พระพิฆเนศ , พระขันธกุมาร , เจ้าแม่กาลี , รามเกียรติ์ เป็นต้น)

งานประติมากรรมเหล่านี้จะมีคำอธิบาย “ภาษาไทยอีสาน” และ “ภาษาไทยภาคกลาง” บอกเล่าถึงเรื่องราวซึ่งเกี่ยวข้องกับชิ้นงานนั้นๆ สลักเอาไว้บริเวณส่วนฐานเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้อ่านได้ศึกษาทำความเข้าใจด้วย

44802461_1335254556611778_2917093228542951424_n 44823566_1335254579945109_8171155858797887488_n 44825724_1335254809945086_6381916867476324352_n 44845536_1335254739945093_1753052079376564224_n 44852337_1335254726611761_6235612238216953856_n 44889287_1335254863278414_5594344543995559936_n 44919977_1335254359945131_5393138932634353664_n 44920025_1335254339945133_62066211617243136_n 44932788_1335254483278452_1724866923432247296_n 44942154_1335254459945121_7641987927693590528_n 45037157_1335254513278449_2318495969982808064_o