บั้งไฟพญานาค ความเชื่อ ศรัทธา

1008

เดิมทีพญานาคอาศัยอยู่ในเมืองบาดาล มีนิสัยดุร้าย ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ก็เกิดความเลื่อมใสศาสนาพุทธ เลิกนิสัยดุร้าย และคิดบวช แต่ก็ติดที่เป็นสัตว์ไม่สามารถบวชได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ พญานาคจึงปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนครบ 1 พรรษา (3 เดือน) และเสด็จกลับโลกมนุษย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ด้ความนี้เมื่อรู้ถึงพญานาคที่อยู่เมืองบาดาล จึงได้จัดทำบั้งไฟพญานาค และยังว่า ตราบเท่าที่ความเชื่อและศรัทธาของชาวบ้านเกี่ยวกับพญานาคยังคงอยู่

บั้งไฟพญานาค หรือก่อนปี 2529 เรียก บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ที่กล่าวกันว่าเห็นที่แม่น้ำโขง ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืนบั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาทุกปี

ในปี 2555 ผู้จัดการออนไลน์ ลงข่าวที่มีช่างภาพไปถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ช่างภาพเล่าว่า จากสายตาพวกเขาเห็นตรงกันว่าลูกไฟนั้นขึ้นจากน้ำ แต่ภาพที่บันทึกด้วยการเปิดหน้ากล้อง 5–30 วินาทีเป็นภาพต่อเนื่องเหมือนเลเซอร์ซึ่งมีจุดเริ่มอยู่บนบกของฝั่งลาวที่ห่างจากไทยประมาณ 1 กิโลเมตร ช่างภาพอีกคนว่า บริเวณที่จัดไว้ให้ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคนั้นมืดมาก
ในปี 2558 มีผู้คาดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้มีเงินสะพัดกว่า 150 ล้านบาท นอกจาก “บั้งไฟพญานาค” แล้ว ยังมีปรากฏารณ์ลูกไฟโดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในบริเวณอื่นของโลก

15 ค่ำ เดือน 11 ภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อ11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
15 ค่ำ เดือน 11 ภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อ11 ตุลาคม พ.ศ. 2545

ลักษณะ
ลักษณะบั้งไฟพญานาคเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น จะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1–30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50–150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5–10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อย ๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ

วินิจ พลพิทักษ์ หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย อธิบายว่า ทั่วจังหวัดหนองคายมีตำแหน่งที่มักปรากฏบั้งไฟพญานาคประมาณ 20 จุด โดยพบที่อำเภอโพนพิสัยมากที่สุด บั้งไฟพญานาคยังขึ้นอยู่ตามหนองน้ำ บ่อน้ำ ลำห้วย ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากลำน้ำโขงราว 500 เมตร ก็มีผู้พบเห็น สำหรับระยะเวลาในการขึ้นของบั้งไฟพญานาคนั้นจะขึ้น ระหว่างตะวันตกดินถึงประมาณ 23.00 น.

นายแพทย์มนัส กนกศิลป์ ผู้ศึกษาบั้งไฟพญานาค เผยว่า ปริมาณของบั้งไฟพญานาคจะลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ล้วนแล้วเกิดจากระบบนิเวศ และเงื่อนไขของเวลา ไม่แน่ว่าในปีต่อไปจะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคอีกหรือไม่ เรื่องดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง ตลอดจนภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้บั้งไฟพญานาคลดจำนวนลงจนหมดไป

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

งานวิจัยวิทยาศาสตร์ของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟพญานาค คือ ก๊าซมีเทน-ไนโตรเจนเกิดจากแบคทีเรียที่ความลึก 4.55–13.40 เมตร อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนน้อย ในวันที่เกิดปรากฏการณ์มีแดดส่องช่วงประมาณ 10, 13 และ16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า 26 องศาเซลเซียสทำให้มีความร้อนมากพอย่อยสลายสารอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมัก 3–4 ชั่วโมง มากพอให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายทำให้ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซขนาดเท่าหัวแม่มือจะพุ่งขึ้นสูงกระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยามกลางคืนทำให้เกิดการสันดาปอย่างรวดเร็วจนติดไฟได้

นายแพทย์มนัส กนกศิลป์ กล่าวในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ว่า “บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสาร และจะต้องมีมวล เพราะแหวกนํ้าขึ้นมาได้ จึงน่าจะเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง และต้องเบากว่าอากาศ” เขายังพบว่าความเป็นกรดด่างของน้ำในแม่น้ำโขงสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักมีเทน ซึ่งเขาเคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา เขาบอกว่าในคืนนั้นมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก

มีคำอธิบายที่คล้ายกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ใกล้เคียงในฟิสิกส์พลาสมา (plasma physics) โดยเป็นลูกพลาสมาลอยอิสระซึ่งสร้างจากไฟฟ้าสถิต (เช่น จากตัวเก็บประจุ) ถูกปล่อยสู่สารละลาย ทว่า การทดลองบอลพลาสมาส่วนใหญ่กระทำโดยใช้ตัวเก็บประจุค่าแรงดันสูง ตัวกำเนิดสัญญาณไมโครเวฟหรือเตาอบไมโครเวฟ มิใช่ภาวะธรรมชาติ

การกระทำของมนุษย์
สารคดีของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีในปี 2545 แสดงทหารลาวยิงกระสุนส่องวิถีขึ้นฟ้า และมีเสียงเฮที่ดังมาจากฝั่งไทยที่มารอชมบั้งไฟพญานาค และเมื่อสัมภาษณ์คนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 17–18 กุมภาพันธ์ 2546 ชาวบ้านในพื้นที่ก็รู้ดีว่ามีการยิงลูกไฟในฝั่งลาวในวันออกพรรษา แต่ลักษณะจะแตกต่างจากบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นจากบริเวณกลางแม่น้ำโขง และสามารถแยกแยะออกว่าอันไหนของจริง อันไหนคนทำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิชาการจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ไม่มีก๊าซชนิดใดในโลกที่สันดาปเองแล้วกลายเป็นลูกไฟลอยสูงขึ้นไปสูง ๆ ได้ เว้นแต่มีการสันดาปด้วยเชื้อเพลิงขับ เช่น ดินปืน พลุ หรือกระสุนส่องแสง ขึ้นจากฝั่งตรงข้ามแต่หลอกตาเหมือนขึ้นจากน้ำ และยังตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมายังไม่มีภาพถ่ายวิดีโอใดๆเลยที่ชี้ให้เห็นว่าลูกไฟขึ้นจากน้ำได้จริง โดยมักเป็นภาพลูกไฟที่ลอยขึ้นไปในอากาศแล้ว พร้อมขอให้มีการสร้างบั้งไฟพญานาคเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติขึ้นมาเพื่อพิสูจน์

ปิ่น บุตรีเขียนลง ผู้จัดการออนไลน์ ในปี 2556 ว่า สกู๊ป (ของไอทีวี) ที่ว่าบั้งไฟพญานาคเกิดจากการยิงปืนของทหารลาวนั้นถูกต่อต้านจากคนในพื้นที่ และยังถูกคนจับผิดและหาข้อมาหักล้าง ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของการยิงปืนที่ต้องมีเสียง ควัน และมีวิถีการพุ่งที่เร็วมากแถมสีก็แตกต่างกับลูกไฟประหลาดที่พวยพุ่งขึ้นมา พุ่งช้ากว่า ไม่มีควัน เสียงไม่ดังเท่า นอกจากนี้ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคยังมีบันทึกว่าเกิดขึ้นมานับร้อย ๆ ปี มาก่อนการยิงปืนของทหารนานแล้ว